Category Archives: ถนนประเสริฐมนูกิจ
ถนนประเสริฐมนูกิจ
ถนนประเสริฐมนูกิจ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
นนประเสริฐมนูกิจ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 สายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–คันนายาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นเส้นทางจราจรระหว่างท้องที่เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 11.656 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนงามวงศ์วานตัดกับถนนพหลโยธินที่สี่แยกเกษตร เขตจตุจักร เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจร มุ่งไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่แขวงเสนานิคม ข้ามคลองบางบัวเข้าสู่พื้นที่เขตลาดพร้าวในแขวงจรเข้บัว ตัดกับถนนลาดปลาเค้า จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าสู่แขวงลาดพร้าว ตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่พื้นที่แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม ข้ามคลองลำเจียก ตัดกับถนนรัชดา-รามอินทรา ซ้อนกับแนวปากทางถนนนวลจันทร์และข้ามคลองบางขวดก่อนตัดกับถนนนวมินทร์ เข้าพื้นที่แขวงคลองกุ่ม ตรงไปทางทิศเดิม วกขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบวบขม ข้ามคลองลำปลาดุกเข้าสู่พื้นที่แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว และข้ามคลองครุก่อนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)[1] ซึ่งในอนาคตอาจมีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับด้วย
ประวัติ[แก้]
ชื่อถนนประเสริฐมนูกิจตั้งตามราชทินนามของหลวงประเสริฐมนูกิจ (นายประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ พ.ศ. 2439-พ.ศ. 2512) นักกฎหมายและศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2500 ราชทินนามหลวงประเสริฐมนูกิจเป็นราชทินนามคู่กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์ พ.ศ. 2443-2526)
เมื่อปี พ.ศ. 2546 กรุงเทพมหานคร (ดำริของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้ให้ทางเขตวังทองหลางและเขตห้วยขวางเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์) เฉพาะช่วงถนนพระราม 9 ถึงถนนลาดพร้าวเป็นชื่อ “ถนนประเสริฐมนูกิจ” โดยให้เหตุผลว่าถนนสายดังกล่าวมีความยาวมาก ทำให้การระบุที่อยู่และชื่อผู้รับทางไปรษณีย์ทำได้ไม่สะดวก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรมช่วงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านขึ้นทั่วไป ทางคณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครจึงได้พิจารณาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้เปลี่ยนชื่อถนนประเสริฐมนูกิจกลับมาเป็นถนนประดิษฐ์มนูธรรมตามเดิม
จากนั้น เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่วมกับกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบให้ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 ที่นิยมเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า “ถนนเกษตรตัดใหม่” หรือ “ถนนเกษตร-นวมินทร์” เป็น ถนนประเสริฐมนูกิจ แทน
รายชื่อทางแยก[แก้]
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | แยกเกษตรศาสตร์ | เชื่อมต่อจาก: ถนนงามวงศ์วาน (ทางลอด) | ||
ถนนพหลโยธิน ไปบางเขน | ถนนพหลโยธิน ไปลาดพร้าว | ||||
1+600 | สะพานข้ามคลองบางบัว | ||||
2+110 | แยกประเสริฐมนูกิจ-ลาดปลาเค้า | ถนนลาดปลาเค้า ไป ถนนรามอินทรา (แยกลาดปลาเค้า) | ถนนลาดปลาเค้า ไปแยกวังหิน | ||
4+120 | แยกเสนานิเวศน์ | ซอยประเสริฐมนูกิจ 27 ไปหมู่บ้านเสนานิเวศน์, ถนนรามอินทรา (ซอยมัยลาภ) | ซอยประเสริฐมนูกิจ 18 ไปถนนเสนานิคม 1 (แยกวังหิน) | ||
4+380 | − | ซอยประเสริฐมนูกิจ 29 ไป ถนนรามอินทรา (ซอยมัยลาภ) | ไม่มี | ||
5+500 | แยกสุคนธสวัสดิ์ | ถนนสุคนธสวัสดิ์ ไปถนนประดิษฐ์มนูธรรม | ถนนสุคนธสวัสดิ์ ไปโชคชัย 4 (ถนนนาคนิวาส) | ||
6+215 | แยกประดิษฐ์มนูธรรม | ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไป ถนนรามอินทรา (ถนนวัชรพล) | ไม่มี | ||
ทางพิเศษฉลองรัช ไป ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) (ทางพิเศษพาดผ่านถนน) |
ทางพิเศษฉลองรัช ไปบางนา (ทางพิเศษพาดผ่านถนน) |
||||
ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปถนนรามอินทรา | ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปถนนลาดพร้าว | ||||
7+130 | − | ถนนคลองลำเจียก ไปถนนนวลจันทร์ | ถนนคลองลำเจียก ไปถนนประดิษฐ์มนูธรรม | ||
8+097 | แยกประเสริฐมนูกิจ–รัชดา-รามอินทรา | ทล.350 ไปถนนนวลจันทร์, มีนบุรี ( ถนนรามอินทรา) | ไม่มี | ||
8+800 | − | ถนนนวลจันทร์ ไปแยกนวลจันทร์–รัชดา-รามอินทรา | ไม่มี | ||
9+150 | แยกนวลจันทร์-นวมินทร์ | ถนนนวมินทร์ ไป ถนนรามอินทรา (กม.8) | ถนนนวมินทร์ ไปบางกะปิ | ||
12+328 | − | ทล.3902 ไป ถนนรามอินทรา (ทางแยกต่างระดับรามอินทรา) | ไม่มี | ||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
คันนายาว เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคลองสามวา มีคลองตาเร่ง คลองลำชะล่า คลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองคู้ชุมเห็ด และคลองคู้บอนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี มีคลองคู้บอนและคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม มีคลองกุ่ม ถนนเสรีไทยฟากใต้ คลองระหัส คลองลำปลาดุก คลองหนองแขม คลองหลวงวิจิตร คลองบางชวดด้วน และถนนรามอินทราฟากใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
ประมาณปี พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่[3] ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ “คันนา” มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย)[4] ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า “โรงแดง” เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ “คันนายาว”[5][6]
ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]
ตำบลคันนายาว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยในปี พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคันนายาวด้วย[7] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลคันนายาวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคันนายาว อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป[10] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกแขวงคันนายาว รวมกับหมู่ที่ 3, 11 (บางส่วน) ของแขวงคลองกุ่ม และหมู่ที่ 1, 2, 9, 10 (บางส่วน) ของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น เขตคันนายาว[11]
และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงคันนายาวเต็มพื้นที่เขตคันนายาวอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[12][13] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตคันนายาวได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[12] เขตสะพานสูง[12] เขตหลักสี่[14] เขตวังทองหลาง[15] และเขตคลองสามวา[16] โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 7 แขวงคันนายาวเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรริมคลองครุ ในซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 เมื่อช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2552[3]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว[17] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตคันนายาวแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คันนายาว | Khan Na Yao |
12.920
|
47,700
|
18,053
|
3,691.95
|
รามอินทรา | Ram Inthra |
13.060
|
49,487
|
26,181
|
3,789.20
|
ทั้งหมด |
25.980
|
97,187
|
44,234
|
3,740.83
|
ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคันนายาว[18] |
---|
การคมนาคม[แก้ไขต้นฉบับ]
ในพื้นที่เขตคันนายาวมีทางสายหลัก ได้แก่
|
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน ใช้สัญจร
สถานที่สำคัญ[แก้ไขต้นฉบับ]
- สวนสยาม
- นิคมอุตสาหกรรมบางชัน (ส่วนเขตคันนายาว)
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน)
- เทคโนโลยีดุสิต รามอินทรา