Category Archives: แขวงบางไผ่
แขวงบางไผ่
แขวงบางไผ่ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
แขวงบางไผ่ เป็นแขวงหนึ่งใน 4 แขวงของเขตบางแค
เขตบางแค เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามวา[1]
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาบริเวณติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตทวีวัฒนาและเขตตลิ่งชัน มีคลองทวีวัฒนา และคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตภาษีเจริญ มีคลองลัดตาเหนียว คลองบางไผ่ คลองครูเสงี่ยม คลองบางแวก และคลองพระยาราชมนตรีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางบอน มีคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตหนองแขม มีแนวขอบทางถนนบางบอน 3 ซอยเพชรเกษม 69 (อินทาปัจ) และคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
“บางแค” มาจากคำว่า “บาง” หมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ หรือทางน้ำที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า “แค” นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูกต้นแคไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย
ประวัติ[แก้]
เขตบางแคในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี มีชื่อว่า ตำบลหลักหนึ่ง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ตำบลบางแค[2] ตามชื่อคลองสายหนึ่งที่ไหลผ่านพื้นที่และหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยุบอำเภอหนองแขมมาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญ[3] แต่ในช่วงแรกตำบลบางแคยังคงเป็นท้องที่ปกครองของกิ่งอำเภอหนองแขมอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 ทางการจึงโอนตำบลนี้มาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญโดยตรง เนื่องจากอยู่ใกล้กันและติดต่อกันได้สะดวกกว่า[4]
เมื่อมีผู้คนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วน เพื่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงท้องถิ่น[5] และขยายเขตออกไปในปี พ.ศ. 2501[6] และ พ.ศ. 2513[7]
จนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2514[8] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515[9] โดยให้ยุบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลบางแคจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางแค ขึ้นกับเขตภาษีเจริญ ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในแขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่[10]
ในที่สุดจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย แบ่งพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 รวมกับพื้นที่แขวงหลักสองของสำนักงานเขตหนองแขมมาจัดตั้งเป็น เขตบางแค เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงแนวเขตและพื้นที่แขวงทั้งสี่ของเขตบางแคใหม่ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[11][12]
และเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงทั้งสี่ในเขตบางแคใหม่ เพื่อความสะดวกและความชัดเจนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552[13]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 แขวง คือ
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
บางแค | Bang Khae |
7.250
|
38,955
|
25,190
|
5,373.10
|
บางแคเหนือ | Bang Khae Nuea |
13.203
|
60,111
|
28,113
|
4,552.82
|
บางไผ่ | Bang Phai |
14.753
|
39,996
|
14,212
|
2,711.04
|
หลักสอง | Lak Song |
9.250
|
54,429
|
24,250
|
5,884.21
|
ทั้งหมด |
44.456
|
193,491
|
91,765
|
4,352.41
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางแค[14] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางแค ได้แก่
- ถนนเพชรเกษม ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางของเขต เริ่มต้นเข้าสู่เขตบางแคจากคลองพระยาราชมนตรี แขวงบางแค ต่อเนื่องมาจากแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ และไปสิ้นสุดที่คลองทวีวัฒนา ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม ต่อไป
- ถนนกาญจนาภิเษก ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางของเขต เริ่มต้นเข้าสู่เขตบางแคจากคลองบางเชือกหนัง เขตทวีวัฒนา และไปสิ้นสุดที่คลองบางโคลัด ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน ต่อไป
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
- ถนนพุทธมณฑล สาย 2
- ถนนพุทธมณฑล สาย 3 (เพชรเกษม 104)
- ถนนกัลปพฤกษ์
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
สถานที่ราชการ[แก้]
- สำนักงานเขตบางแค
ปี 2538 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญสาขา 1 ขึ้น โดยใช้ที่ทำการเดียวกับสำนักงานเขตภาษีเจริญ ให้บริการเฉพาะประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่แขวงบางไผ่ แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ และปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายที่ทำการมาเช่าตึกแถว 4 ชั้น จำนวน 4 คูหา บนถนนกาญจนาภิเษกเป็นที่ทำการจนกระทั่ง วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตหนองแขมเฉพาะแขวงหลักสอง มารวมกับสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 และตั้งเป็นสำนักงานเขตบางแค แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 แขวง ประกอบด้วย แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ แขวงหลักสอง ซึ่งทางสำนักงานเขตยังคงเช่าตึกแถวดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่ง นางบาง กลีบบัวได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินจำนวน 4 ไร่ ให้กับกรุงเทพมหานครเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างที่ทำการสำนักงานเขตบางแค เริ่มก่อสร้างอาคารเดือน มีนาคม 2547 ก่อสร้างแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2547 โดย สำนักงานเขตได้ดำเนินการย้ายเข้ามาปฏิบัติงานในอาคารใหม่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2547 และได้มีพิธีเปิดอาคารสำนักงานเขตบางแคและศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2548
- สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม
สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงานเขตอำนาจรับผิดชอบ และเขตปกครองพื้นที่การปกครองของหน่วยงานราชการในกรมตำรวจ (ฉบับที่ 20) พ . ศ .2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 17 ง . วันที่ 13 มิถุนายน 2539 เริ่มเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2539 เป็นต้นมา สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม ตั้งอยู่ เลขที่ 50 หมู่ 1 ซอยเพชรเกษม 63 ถนนเพชรเกษม แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุส่วนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ริมคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ ใกล้วัดม่วง ซอยเพชรเกษม 63
- สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง
สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ .2473 ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ เสาปูน ยกพื้นสูง เป็นทรงปั้นหยา ตั้งอยู่ริมคลองขุดภาษีเจริญฝั่งทิศเหนือ ตรงระยะที่ 2 ตรงข้ามวัดม่วง ปลูกอยู่ในที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียน 3712 โฉนดที่ดินที่ 3881 ที่ดินเลขที่ 67 ระวาง 4 ต.7 ฎ.หมู่ที่ 1 ตำบลหลักสอง อำเภอหนองแขม (สมัยก่อน) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ดิน 420 ตารางวา มีสารวัตรเป็นหัวหน้าปกครองขึ้นตรงต่อ กองกำกับการ ตำรวจนครบาล 12 ขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2517 พ.ต.อ.ไพทูรย์ สุวรรณวิเชียร ผกก.น.12 ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ปริมาณงานและกิจการต่าง ๆ ของ สน.มีเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับ การยกฐานะขึ้นแล้ว ปรากฏว่าสถานที่ทำงาน คับแคบขึ้นอีก เนื่องจากมีกำลังตำรวจเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้ง ตัวอาคารเดิมอยู่ ริมคลองและอยู่ห่างจากถนน เพชรเกษมประมาณ 2 กม . เป็นสถานที่คับแคบไม่สามารถขยายให้กว้างได้ ทำให้การบริการประชาชนไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าที่ควร พ.ต.อ.ไพทูรย์ สุวรรณวิเชียร ผกก.น.12 จึงได้เสนอความต้องการและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อขอใช้ที่ร่วมกับศูนย์บรรเทา สาธารณภัยธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2517 ต่อมาได้รับงบประมาณให้จัดสร้าง สถานที่ทำการใหม่ ในซอยเพชรเกษม 98 ในที่ดินซึ่งได้รับบริจาคและได้สร้างเสร็จในปี 2529 จึงได้ย้ายสถานที่ทำการจากศูนย์บรรเทา สาธารณภัยธนบุรีมา อยู่ที่อาคาร สร้างใหม่ในซอยเพชรเกษม 98 เลขที่ 164/1 ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 3 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 จนถึงปัจจุบัน ปริมาณงานได้ เพิ่มมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งพื้นที่ รับผิดชอบของ สน.หลักสอง แบ่งเป็น สน.เพชรเกษม ตั้งแต่ วันที่ 12 สิงหาคม 2539 สน.หลักสอง โดยรับผิดชอบเขตพื้นที่ 19.24 ตร.กม. โดยมีเขตพื้นที่ทิศเหนือด้านติดต่อ สน . บางเสาธงและ สน . ศาลาแดง ทิศตะวันตกติดต่อ สน . หนองค้างพลู ทิศใต้ติดต่อ สน . เพชรเกษม ทิศตะวันออกติดต่อ สน.ภาษีเจริญ
- สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง
พ.ศ. 2478 ร.ต.ต.ขุนวิจารณ์ กิจชอบ หัวหน้ากิ่งสถานีได้ขออนุมัติกรมตำรวจซื้อที่ดินจากผู้ใหญ่ยิ่ง รอดทอง บริเวณหมู่ที่ 6 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร สร้างตัวอาคารเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวและบ้านพักเป็น ห้องแถวเรือนไม้ 2 หลัง จำนวน 14 ห้อง บนเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน พ.ศ. 2520 มีราชกิจจานุเบกษาให้ตั้งเป็นสถานีตำรวจชื่อ “สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง”แยกจากสถานีตำรวจนครบาลบางเสาธง และยกระดับผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสถานีเป็น ระดับสารวัตร พ.ศ. 2537 ได้รับการยกระดับหัวหน้าสถานีจากสารวัตรเป็นรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานี มีสารวัตรป้องกันปราบปราม สารวัตรสอบสวนและ สารวัตรธุรการ พ.ศ. 2545 ได้รับการยกระดับสถานีจาก รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานี เป็น ผู้กำกับการเป็นหัวหน้าสถานี สถานที่ตั้ง ปัจจุบัน สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 128 ซอยบางแวก 158 ถนนทวีวัฒนา แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ขึ้นกับกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีพื้นที่รับผิดชอบ 26 ตารางกิโลเมตร
วัด[แก้]
มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่
โบสถ์คริสต์[แก้]
มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่
ศาลเจ้า[แก้]
มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม หลักสอง
- ศาลเสด็จพ่อพรหมมาลีปิยะมหาราช
- ศาลเจ้าพ่อบ้านแหลม
- ศาลเจ้าตือกง
- ศาลเสด็จพ่อชัยมงคล
- ศาลเจ้าพ่อใหญ่
- มูลนิธิธนาคารเพิ่มบุญ
- พระพรหม คลองขวาง (เพชรเกษม 69)
พิพิธภัณฑ์[แก้]
มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- พิพิธภัณฑ์สุนทร
- มูลนิธิเพื่อพิพิธภัณฑ์ไทย (สาขาย่อย)
โรงพยาบาล/สาธารณสุข[แก้]
มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค
- บุญญาเวช สหคลินิก ในเครือ โรงพยาบาลยันฮี
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค
- โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
- สถานพยาบาลเพชรเกษม – บางแค
สถานศึกษา[แก้]
มีจำนวนรวมทั้งหมด 31 โรงเรียน แบ่งเป็น
- ระดับอุดมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 แห่ง
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนเอกชน จำนวน 11 แห่ง
สถานที่สำคัญอื่น ๆ[แก้]
- หมู่บ้านเศรษฐกิจ
- สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค 2
- แหล่งเกษตรกรรมพุทธมณฑล สาย 2 และพุทธมณฑล สาย 3 เขตบางแค
- สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางแค
ท่าเรือในเขตบางแค[แก้]
- ท่าเรือสะพานกาญจนาภิเษก เขตบางแค
- ท่าเรือสี่แยกคลองบางแวก
- ท่าเรือวัดม่วง
- ท่าเรือท่าเกษตร-บางแค
- ท่าเรือคลองขวาง (เพชรเกษม 69)