Category Archives: อำเภอพานทอง
อำเภอพานทอง
อำเภอพานทอง is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
อำเภอพานทอง ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต[edit]
อำเภอพานทองตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางปะกงและอำเภอบ้านโพธิ์ (จังหวัดฉะเชิงเทรา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพนัสนิคม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านบึง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองชลบุรี
ประวัติศาสตร์[edit]
เมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงนำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนครัวเรือนรายทางมาตั้งเมืองและค่ายทหารชั่วคราวขึ้นที่ตำบลโป่งตามุขเรียกว่าเมืองโป่งตามุข เป็นเมืองควบคุมหัวเมืองชายทะเล มีเจ้าเมือง ศาล และเรือนจำ สำหรับใช้เป็นที่ปกครองชำระคดีความ โดยมีตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณวัดโป่งตามุข ตำบลหนองหงษ์ อำเภอพานทองในปัจจุบัน
ในสมัยนั้นมีพรานป่าคนหนึ่งชื่อทอง เป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพครอบครัวและญาติพี่น้องหนีพม่ามาตั้งภูมิลำเนาทำมาหากินเลี้ยงชีพในทางล่าสัตว์อยู่ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ริมคลองซึ่งแยกจากคลองบางปะกง (ปัจจุบันเรียกคลองพานทอง) ตรงระหว่างตำบลบ้านเก่ากับตำบลบางนางในปัจจุบัน และพร้อมกันนั้นนายพรานทองได้ทำหน้าที่เป็นจารชนสืบข่าวของข้าศึกถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และได้รวบรวมกำลังกู้อิสรภาพขับไล่พม่า เมื่อเสร็จศึกสงครามแล้ว นายพรานทองจึงได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งห่างจากหมู่บ้านของตนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร ณ ริมคลองสายเดียวกัน ให้ชื่อว่า “วัดพรานทอง” นัยว่าเพื่อเป็นการล้างบาปที่ตนเองมีอาชีพในทางล่าสัตว์ และได้อพยพครอบครัวมาประกอบอาชีพเป็นหลักฐานอยู่ในบริเวณใกล้วัดพรานทองนี้ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านพรานทอง” และเรียกคลองซึ่งแยกจากคลองบางปะกงว่า “คลองพรานทอง” ด้วย
แต่ด้วยเหตุที่ชาวบ้านออกเสียงควบกล้ำ ร ไม่ชัดเจน ฉะนั้นคำว่า “วัดพรานทอง” “บ้านพรานทอง” และ “คลองพรานทอง” จึงได้เพี้ยนเป็น “วัดพานทอง” “บ้านพานทอง” และ “คลองพานทอง” ดังในปัจจุบัน
สภาพพื้นที่ของอำเภอพานทองเดิมเป็นที่ราบลุ่มคล้ายท้องกระทะ เหมาะแก่การทำไร่นา มีคลองธรรมชาติจากอำเภอพนัสนิคม ผ่านหมู่บ้านท่าตะกูด หมู่บ้านพานทอง หมู่บ้านเก่า ซึ่งขึ้นตรงกับเมืองพนัสนิคม โดยผลผลิตทางการเกษตรจากตัวเมืองพนัสนิคมจะถูกขนส่งมาทางเรือในฤดูน้ำหลาก มารวมจุดพักขนถ่ายและซื้อขายที่หมู่บ้านท่าตะกูด
เมื่อบ้านท่าตะกูดนี้เมื่อมีชุมชนและประชากรเพิ่มขึ้น โดยทางราชการได้ปลูกสร้างเป็นโรงไม้ขึ้นใช้เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราวจัดตั้งเป็นอำเภอแยกออกจากอำเภอพนัสนิคม และเรียกชื่อว่า อำเภอท่าตะกูด จนถึงปี พ.ศ. 2451 จึงได้ปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอถาวรหลังใหม่ขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอพานทอง
การแบ่งเขตการปกครอง[edit]
การปกครองส่วนภูมิภาค[edit]
อำเภอพานทองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 52 หมู่บ้าน
1. | พานทอง | (Phan Thong) | 10 หมู่บ้าน | 7. | บ้านเก่า | (Ban Kao) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | หนองตำลึง | (Nong Tamlueng) | 9 หมู่บ้าน | 8. | หน้าประดู่ | (Na Pradu) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | มาบโป่ง | (Map Pong) | 10 หมู่บ้าน | 9. | บางนาง | (Bang Nang) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | หนองกะขะ | (Nong Kakha) | 5 หมู่บ้าน | 10. | เกาะลอย | (Ko Loi) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | หนองหงษ์ | (Nong Hong) | 6 หมู่บ้าน | 11. | บางหัก | (Bang Hak) | 4 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | โคกขี้หนอน | (Khok Khi Non) | 5 หมู่บ้าน |