Category Archives: แขวงทรายกองดิน
แขวงทรายกองดิน
แขวงทรายกองดิน is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
แขวงทรายกองดิน Khwaeng Sai Kong Din is one of 5 sub-districts of เขตคลองสามวา Khet Khlong Sam Wa
เขตคลองสามวา Khet Khlong Sam Wa is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
ทรายกองดิน เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นเขตเกษตรกรรม ยกเว้นด้านตะวันตกเฉียงใต้ของท้องที่ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
แขวงทรายกองดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตคลองสามวา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[3]
- ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงสามวาตะวันออก มีคลองสองตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงทรายกองดินใต้ มีคลองพระราชดำริ 2 และคลองตาหนวดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงทรายกองดินใต้และแขวงมีนบุรี (เขตมีนบุรี) มีคลองบึงเตย คลองบึงทรายกองดิน (บึงยาว) คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ และซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางชัน มีคลองสามวาเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อแขวง[แก้]
ชุมชนมุสลิมในท้องที่ที่เป็นแขวงทรายกองดินใต้และแขวงแสนแสบปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นชาวมลายูจากเมืองไทรบุรีซึ่งถูกเทครัวขึ้นมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์[4] ชาวมลายูกลุ่มนี้ได้เข้ามาหักร้างถางพง จับจองที่ดินทำกิน และสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยตามแนวคลองแสนแสบหลังจากที่ถูกเกณฑ์มาร่วมขุดคลองสายนี้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระยะแรกชาวมุสลิมในบริเวณดังกล่าวใช้บ้านของคหบดีคนหนึ่งเป็นสถานที่ประกอบกิจทางศาสนา ต่อมาได้ร่วมกันสร้างเรือนไม้ขึ้นเพื่อใช้เป็นสุเหร่าหรือมัสยิด[5] เมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณ 70 ปี ชุมชนนี้มีประชากรมากขึ้น บรรดาสัปปุรุษลงมติว่าจะขยายพื้นที่สุเหร่าให้กว้างขึ้นโดยสร้างเป็นอาคารปูนให้มั่นคงถาวร จึงช่วยกันซื้อทรายมากองไว้บนดินเพื่อรอให้มีปริมาณมากพอ จากนั้นก็มีผู้นำทรายมาสมทบอีกเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกองใหญ่ค้างอยู่นาน ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาเห็นกองทรายนี้ทุกครั้งจึงเรียกกันติดปากว่า “ทรายกองดิน”[5] ภายหลังเมื่อมีการจัดการปกครองท้องที่ตามระบบมณฑลเทศาภิบาล ทางราชการจึงนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่อตำบล โดยปรากฏเอกสารเกี่ยวข้องกับตำบลนี้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2448[6]
ยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาอีกว่า ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จกลับจากเมืองฉะเชิงเทราผ่านทางคลองแสนแสบ เมื่อเข้าเขตสุเหร่าของชุมชน พระองค์ก็เสด็จขึ้นฝั่ง ทรงแวะเยี่ยมเยียนสุเหร่า และมีพระราชดำรัสถามว่า “กองทรายกองดินเหล่านี้มีไว้ทำไม”[7] เมื่อทรงได้รับคำตอบจากผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นว่าจะใช้สร้างอาคารสุเหร่า จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ทหารขนอิฐ หิน และทรายมาทางเรือกลไฟอย่างละหลายลำเพื่อพระราชทานสมทบสร้างสุเหร่าหลังใหม่ พร้อมทั้งพระราชทานที่ดินจำนวน 40 ไร่ เป็นใบเดินทุ่งให้กับทรัสตีสุเหร่าแห่งนี้ด้วย นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็เรียกสุเหร่าแห่งนี้ว่า “สุเหร่าทรายกองดิน”[a][5]
ภายหลังทางราชการได้แบ่งและจัดตั้งเขตการปกครองในระดับตำบลขึ้นใหม่ ส่งผลให้บริเวณชุมชนสุเหร่าทรายกองดิน (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ทรายกองดิน”) ทางฝั่งเหนือของคลองแสนแสบ ย้ายจากตำบลทรายกองดินไปขึ้นกับตำบลทรายกองดินใต้แทน
ประวัติ[แก้]
เดิมแขวงทรายกองดินเป็นมีฐานะเป็น ตำบลทรายกองดิน ขึ้นกับอำเภอเมือง (อำเภอคลองสามวาเดิม) จังหวัดมีนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร[8] อำเภอเมืองซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมีนบุรี ต่อมาใน พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้แยกหมู่ที่ 1–10, 15 และ 16 ของตำบลทรายกองดินไปจัดตั้งเป็นตำบลทรายกองดินใต้[9] และในปีถัดมาได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมตำบลทรายกองดินด้วย[10]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมกับจังหวัดธนบุรีแล้วเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[11] จากนั้นใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[12] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ ตำบลทรายกองดินจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทรายกองดิน และอยู่ในเขตการปกครองของเขตมีนบุรี ก่อนจะย้ายมาขึ้นกับเขตคลองสามวาซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2540[13]
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงทรายกองดิน ได้แก่
ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงทรายกองดิน ได้แก่