Category Archives: ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ is a position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
นย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit National Convention Center – QSNCC) เป็นศูนย์การประชุมตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ติดกับโรงงานยาสูบเดิม
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
จากการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยจึงมีมติให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว โดยกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย พร้อมกับใช้เทคนิค “สร้างและออกแบบ” (A “build and design” technique) เพื่อให้ศูนย์ประชุมของชาติแห่งแรกนี้สามารถเสร็จทันตามกำหนดเวลา
หลังจากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ 20 เอเคอร์ ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2533 บรรดานักออกแบบกว่า 100 คน และคนงานก่อสร้างอีกกว่า 1,000 คน ต่างทุ่มเททำงานทั้งกลางวัน และกลางคืนเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534
จากความมุ่งมั่น และพยายามของทุกฝ่าย ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 16 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน ด้วยงบประมาณน้อยกว่าที่กำหนด ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นแล้วเสร็จในต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534
ในวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์การประชุม เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535
นับตั้งแต่เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รองรับผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 กว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ระหว่างวันที่ 1 – 15 ตุลาคม 2534 ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจไมซ์ในประเทศไทยตลอดมา
กว่าสองทศวรรษที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้รองรับการจัดงานสำคัญมากมายทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับการยอมรับและไว้วางใจในฐานะศูนย์การประชุมแห่งชาติที่มีการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565[1]
งานที่จัดในศูนย์ประชุมฯ[แก้]
- การประกวดนางงามจักรวาล พ.ศ. 2535
- การประกวดนางสาวไทย พ.ศ. 2538, 2543-2545
- งานรับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- งานหนังสือโลก, งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
- งาน SET in the City โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- งานท่องเที่ยวไทย
- งานแสดงสินค้าต่าง ๆ เช่น เครื่องเรือน, อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
- ไทยแลนด์เกมโชว์ (พ.ศ. 2550-2554)
- คอมมาร์ท ไทยแลนด์
- งานมหกรรมมือถือ Thailand Mobile Expo
- จัดคอนเสิร์ต การแสดงต่างๆ
- งานเปิดตัว iPhone 4S by AIS (พ.ศ. 2554)
- งาน Carabao Expo (พ.ศ. 2554)
- งานแสดงสินค้าแม่และเด็ก Thailand Baby & Kids Best Buy
- งานช้อปปิ้ง พาราไดซ์ (แฟชั่น ความงาม)
- งานเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
- งานมหกรรมบ้านและคอนโด
- งาน Brick Lego 2018 จัดขึ้นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเดินทาง[แก้]
- รถไฟฟ้ามหานคร สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- รถโดยสารประจำทาง ขสมก. สาย 2(เสริม) 25(รถร่วมบริการ) 136 185 501(เสริม)
การบริการทางการสื่อสารและโทรคมนาคม[แก้]
- การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (AIS DTAC TRUE TOT)
- การให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต มีผู้ให้บริการจำนวน 1 ราย ซึ่งได้รับอนุญาตให้บริการคือบริษัท เคิร์ซ จำกัด
- บริการ Free WIFI สำหรับผู้เข้าชมงาน โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์และบริษัท เคิร์ซ จำกัด
เขตคลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร), แนวเส้นตรงจากซอยสุขุมวิท 52 ไปบรรจบจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทร และเขตปทุมวัน มีทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)
เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของ เมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ 3 แขวงดังกล่าวตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาในปี พ.ศ. 2540
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)คลองเตย Khlong Toei 7.24967,34633,4239,290.38คลองตัน Khlong Tan 1.90111,10114,3235,839.55พระโขนง Phra Khanong 3.85023,09624,4345,998.96ทั้งหมด 13.000101,54372,1807,811.00ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
เขตคลองเตย[2]สถานที่สำคัญ[แก้]
- การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
- ท่าเรือกรุงเทพ
- ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- อุทยานเบญจสิริ
- สวนเบญจกิติ
- สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- กรมศุลกากร
- สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- โรงเรียนปทุมคงคา
- โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
- โรงเรียนศรีวิกรม์
- โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
- แพตสเตเดียม สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
- วัดคลองเตยใน
- วัดคลองเตยนอก
- วัดสะพาน
- ตำหนักปลายเนิน
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนสุนทรโกษา
- ถนนอาจณรงค์
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
- ถนนเกษมราษฎร์
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนพระรามที่ 3
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษฉลองรัช
ทางน้ำ[แก้]
ระบบขนส่งมวลชน[แก้]
- สถานีคลองเตย บริเวณถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย บริเวณทิศตะวันออกของจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ และทางขึ้น-ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งเป็นจุดบรรจบถนนพระรามที่ 4, ถนนเชื้อเพลิง และถนนดวงพิทักษ์
- สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของสี่แยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3
เศรษฐกิจชุมชน[แก้]
ที่ชุมชนเกาะกลางน้ำ เขตคลองเตย ผู้ที่อาศัยอยู่ยังชุมชนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกผักและเพาะเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า, เห็ดนางฟ้าภูฏาน, เห็ดเป๋าฮื้อ, เห็ดหูหนู[3]