Category Archives: สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) is a position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
ถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) เป็นสถานีขนส่งที่ใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 บนที่ดินของ บขส. จำนวน 7 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิทบริเวณทางแยกเอกมัยใต้ (ปากซอยสุขุมวิท 63) ซึ่งเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเพียงแห่งเดียวที่ยังไม่มีการย้ายสถานีขนส่ง และตั้งอยู่ภายในตัวเมือง
เนื้อหา
ลักษณะอาคารสถานีขนส่ง[แก้]
เป็นอาคารเดี่ยว ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสารจะอยู่ด้านหน้าของสถานีขนส่ง มีทางเดินไปชานชาลาด้านหลัง โดยชานชาลาแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศขั้น 1 และอีกด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศชั้น 2
ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานี[แก้]
รถโดยสารประจำทาง ขสมก.[แก้]
สาย 2, 25, 38, 40, 48, 71, 72, 149, 501, 508 และ 511
รถไฟฟ้าบีทีเอส[แก้]
สถานีขนส่งนี้สามารถเชื่อมต่อกับสถานีเอกมัยได้
สายรถโดยสารที่จอดรับส่งในสถานี[แก้]
35 กรุงเทพฯ – ระยอง (ข)
36 กรุงเทพฯ – สัตหีบ (ข)
37 กรุงเทพฯ – ศรีราชา (ข)
38 กรุงเทพฯ – ชลบุรี (ข)
39 กรุงเทพฯ – บางคล้า (ข)
40 กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา (ข)
41 กรุงเทพฯ – ตราด (ก)
42 กรุงเทพฯ – จันทบุรี (ก)
43 กรุงเทพฯ – แกลง
44 กรุงเทพฯ – ประแสร์
45 กรุงเทพฯ – บ้านค่าย
46 กรุงเทพฯ – ระยอง (ก)
48 กรุงเทพฯ – พัทยา
49 กรุงเทพฯ – บางแสน
50 กรุงเทพฯ – ชลบุรี (ก)
51 กรุงเทพฯ – บ้านบึง
52 กรุงเทพฯ – พนัสนิคม
53 กรุงเทพฯ – คลองด่าน – ฉะเชิงเทรา (ก)
55 กรุงเทพฯ – คลองด่าน – บางคล้า (ก)
56 กรุงเทพฯ – พนมสารคาม
914 กรุงเทพฯ – จันทบุรี (ค)
915 กรุงเทพฯ – บ้านค่าย – แหลมแม่พิมพ์
916 กรุงเทพฯ – แกลง – สามย่าน
917 กรุงเทพฯ – ตราด (ค)
969 กรุงเทพฯ – แกลง – ประแสร์
970 กรุงเทพฯ – แหลมฉบัง
9916 กรุงเทพฯ(เอกมัย) – เขาหินซ้อน – ตลาดโรงเกลือ
แผนในอนาคต[แก้]
หลังการเปิดตัวของโครงการ แบงค็อก มอลล์ ในพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา บริษัท ขนส่ง จำกัด มีแผนก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออกแห่งใหม่ภายในโครงการนี้ โดยเป็นการขอใช้พื้นที่บางส่วนในโครงการจำนวน 5 ไร่ จากที่กลุ่มเดอะมอลล์เป็นเจ้าของที่อยู่ 100 ไร่ มาพัฒนาเป็นชานชาลาสำหรับจอดรถรับส่ง และจะพัฒนาศูนย์บริการลูกค้าภายในอาคารศูนย์การค้า จากจุดประสงค์นี้จะทำให้เดอะมอลล์ได้ลูกค้าเข้าโครงการเพิ่มอีก 10,000 รายต่อวัน เพราะปัจจุบันมีรถเข้า-ออกกว่า 2,000 เที่ยว และมีจำนวนผู้โดยสารต่อวันอยู่ที่ 10,000 รายต่อวัน[ต้องการอ้างอิง]
เขตคลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร), แนวเส้นตรงจากซอยสุขุมวิท 52 ไปบรรจบจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทร และเขตปทุมวัน มีทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)
เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของ เมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ 3 แขวงดังกล่าวตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาในปี พ.ศ. 2540
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองเตย | Khlong Toei |
7.249
|
67,346
|
33,423
|
9,290.38
|
คลองตัน | Khlong Tan |
1.901
|
11,101
|
14,323
|
5,839.55
|
พระโขนง | Phra Khanong |
3.850
|
23,096
|
24,434
|
5,998.96
|
ทั้งหมด |
13.000
|
101,543
|
72,180
|
7,811.00
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองเตย[2] |
---|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
- ท่าเรือกรุงเทพ
- ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- อุทยานเบญจสิริ
- สวนเบญจกิติ
- สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- กรมศุลกากร
- สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- โรงเรียนปทุมคงคา
- โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
- โรงเรียนศรีวิกรม์
- โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
- แพตสเตเดียม สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
- วัดคลองเตยใน
- วัดคลองเตยนอก
- วัดสะพาน
- ตำหนักปลายเนิน
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนสุนทรโกษา
- ถนนอาจณรงค์
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
- ถนนเกษมราษฎร์
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนพระรามที่ 3
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษฉลองรัช
ทางน้ำ[แก้]
ระบบขนส่งมวลชน[แก้]
- สถานีคลองเตย บริเวณถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย บริเวณทิศตะวันออกของจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ และทางขึ้น-ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งเป็นจุดบรรจบถนนพระรามที่ 4, ถนนเชื้อเพลิง และถนนดวงพิทักษ์
- สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของสี่แยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3
เศรษฐกิจชุมชน[แก้]
ที่ชุมชนเกาะกลางน้ำ เขตคลองเตย ผู้ที่อาศัยอยู่ยังชุมชนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกผักและเพาะเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า, เห็ดนางฟ้าภูฏาน, เห็ดเป๋าฮื้อ, เห็ดหูหนู[3]