Category Archives: สวนเบญจกิติ

สวนเบญจกิติ

สวนเบญจกิติ is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

สวนเบญจกิติ (อังกฤษBenchakitti Park) เป็นสวนสาธารณะเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวาระพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษาเมื่อปี พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ข้างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษกช่วงระหว่างถนนพระรามที่ 4 กับ ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

สวนเบญจกิติ เป็นการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ “บึงยาสูบ” ขนาด 200×800 เมตร ที่เกิดจากการขุดดินถมที่ บริเวณอาคารโรงงานยาสูบ โครงการสวนสาธารณะนี้เป็นส่วนของโครงการพัฒนาพื้นที่ทดแทนโรงงานยาสูบระยะที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ที่ให้ย้ายโรงงานยาสูบออกไปนอกกรุงเทพมหานคร

ชื่อสวนเบญจกิติได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547[1]

ในวันที่ 1-9 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สวนเบญจกิตติได้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงละครเวทีประกอบเพลง และเทคนิคตระการตาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่อง “พระมหาชนก เดอะฟีโนมีนอล ไลฟ์โชว์” โดยเวทีแสดงอยู่กลางบึงความยาวกว่า 100 เมตร[2]

ต่อมาโรงงานยาสูบได้มอบพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 61 ไร่ เพื่อทำเป็น “สวนป่าเบญจกิติ” สำหรับใช้เป็นพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น แคนาเสลา และกระโดน ในลักษณะของสวนป่าที่มีความร่มรื่น แต่โปร่งแสงสว่างส่องถึง ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ ในปี พ.ศ. 2559 โดยมีกำหนดเปิดในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 จึงนับว่าสวนเบญจกิติเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกในกรุงเทพมหานครที่มีสวนป่า [3]

เขตคลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติ[แก้]

ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)

เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของ เมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง

ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ 3 แขวงดังกล่าวตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาในปี พ.ศ. 2540

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
คลองเตย Khlong Toei
7.249
67,346
33,423
9,290.38
คลองตัน Khlong Tan
1.901
11,101
14,323
5,839.55
พระโขนง Phra Khanong
3.850
23,096
24,434
5,998.96
ทั้งหมด
13.000
101,543
72,180
7,811.00

ประชากร[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

ท่าเรือกรุงเทพ

การคมนาคม[แก้]

ทางบก[แก้]

ทางน้ำ[แก้]

ระบบขนส่งมวลชน[แก้]

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

เศรษฐกิจชุมชน[แก้]

ที่ชุมชนเกาะกลางน้ำ เขตคลองเตย ผู้ที่อาศัยอยู่ยังชุมชนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกผักและเพาะเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้าเห็ดนางฟ้าภูฏานเห็ดเป๋าฮื้อเห็ดหูหนู[3]

Call Now Button