Category Archives: ถนนกัลปพฤกษ์

ถนนกัลปพฤกษ์

ถนนกัลปพฤกษ์ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search  by address the focus keyword name in category.

ถนนกัลปพฤกษ์ (อังกฤษThanon Kanlapaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท กท.1001 เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อระหว่างถนนราชพฤกษ์กับถนนกาญจนาภิเษก

รายละเอียดเส้นทาง[แก้]

เริ่มต้นจากถนนราชพฤกษ์ที่ทางแยกต่างระดับสวนเลียบ ระหว่างพื้นที่แขวงบางค้อ (เขตจอมทอง) กับแขวงปากคลองภาษีเจริญ (เขตภาษีเจริญ) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงบางค้อ ข้ามคลองวัดโคนอนเข้าพื้นที่แขวงบางหว้า (เขตภาษีเจริญ) ข้ามคลองบางหว้าเข้าพื้นที่แขวงบางขุนเทียน (เขตจอมทอง) ข้ามคลองสวนหลวงเข้าแขวงบางหว้า ข้ามคลองรางบัวเข้าแขวงบางขุนเทียน ตัดกับถนนกำนันแม้นและข้ามคลองวัดสิงห์เข้าแขวงบางหว้าอีกครั้งหนึ่ง แล้วเลียบไปกับคลองบางโคลัด [บางส่วนซ้อนทับแนวคลองจึงเข้าไปในพื้นที่แขวงคลองบางพราน (เขตบางบอน) ด้วย] ข้ามคลองพระยาราชมนตรีเข้าพื้นที่แขวงบางแค (เขตบางแค) ก่อนตัดกับถนนบางแค จากนั้นจึงเริ่มแยกออกจากแนวคลองไปทางทิศตะวันตก จนบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับบางโคลัด ระหว่างพื้นที่แขวงบางแคกับแขวงหลักสอง (เขตบางแค)

ประวัติ[แก้]

ถนนกัลปพฤกษ์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจอมทอง เขตภาษีเจริญ เขตบางขุนเทียน และเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 เพื่อขยายและเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตอนในของกรุงเทพมหานครกับบริเวณรอบนอก เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรในปี พ.ศ. 2545 กรมทางหลวงชนบทได้ใช้ชื่อถนนในเบื้องต้นว่า ถนนสายแยกตากสิน-เพชรเกษมไปถนนวงแหวนรอบนอก เนื่องจากถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นแยกจากถนนตากสิน-เพชรเกษม และไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษก)

ต่อมากรมทางหลวงชนบทได้ขอให้กรมศิลปากรพิจารณาชื่อถนนตากสิน-เพชรเกษม และถนนสายแยกตากสิน-เพชรเกษมไปถนนวงแหวนรอบนอกใหม่ กรมศิลปากรโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จึงพิจารณาโดยใช้หลักการที่กรมทางหลวงชนบทเคยใช้ตั้งชื่อถนนในโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ และถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์เพชรเกษมรัตนาธิเบศร์ไปแล้ว กล่าวคือ ใช้ชื่อพรรณไม้มงคลตั้งเป็นชื่อถนน ในส่วนของถนนตากสิน-เพชรเกษม ให้รวมเป็นสายเดียวกันกับถนนที่ตัดใหม่จากเพชรเกษมไปรัตนาธิเบศร์ซึ่งใช้ชื่อว่าถนนราชพฤกษ์ ส่วนถนนสายแยกตากสิน-เพชรเกษมไปถนนวงแหวนรอบนอกนั้นตั้งชื่อว่า ถนนกัลปพฤกษ์ เนื่องจากกัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana) เป็นชื่อไม้มงคลที่มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ในวงศ์และสกุลเดียวกันกับราชพฤกษ์ (Cassia fistula) รวมทั้งยังออกดอกและทิ้งใบในช่วงระยะเวลาเดียวกันอีกด้วย

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน Thai Rural Road-กท.1001.svg ถนนกัลปพฤกษ์ ทิศทาง: ถนนกาญจนาภิเษก–ถนนราชพฤกษ์
จังหวัด เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
กรุงเทพมหานคร บางแค 0+000 ทางแยกต่างระดับบางโคลัด Thai Motorway-f9.svg  ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางแคนครปฐมอ.บางบัวทอง Thai Motorway-f9.svg  ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปถนนพระรามที่ 2ทางพิเศษกาญจนาภิเษก
แยกบางพฤกษ์ ถนนบางแค ไปถนนเพชรเกษม (แยกบางแค) ถนนบางบอน 1 ไปถนนเอกชัย (แยกบางบอน)
แยกนิลกาจ ถนนศาลธนบุรี ไปถนนเทอดไท (แยกกำนันแม้น) ถนนศาลธนบุรี ไปถนนเอกชัย (แยกวัดสิงห์)
ภาษีเจริญ 7+700 ทางแยกต่างระดับสวนเลียบ ทางเชื่อม: ไปถนนเทอดไท ไม่มี
Thai Rural Road-นบ.3021.svg ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนเพชรเกษมถนนบรมราชชนนี ไม่มี
ตรงไป: Thai Rural Road-นบ.3021.svg ถนนราชพฤกษ์ ไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

 

เขตจอมทอง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี มีลำรางสาธารณะ คลองบางประทุน คลองตาฉ่ำ คลองรางบัว คลองสวนหลวงใต้ คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองตาม่วง คลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองด่าน คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองแยกบางสะแก 13 เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตราษฎร์บูรณะ มีคลองบางสะแก คลองดาวคะนอง และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว คลองยายจำปี คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองบางมด คลองตาสุก และคลองบัว (คลองตาเปล่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตภาษีเจริญ มีคลองวัดกก คลองสนามชัย คลองวัดสิงห์ และคลองบางระแนะเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

มาจากชื่อวัดจอมทอง ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าวัดเจ้าทอง บ้างก็ว่าวัดกองทอง นักวิชาการสันนิษฐานว่าวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปัจจุบันวัดจอมทองมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

ประวัติศาสตร์[แก้]

บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้น เนื่องจากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่ง ตำบลจอมทอง ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยโอนพื้นที่ 11 หมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางมดออกมา

ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยกเลิกการเรียกชื่อตำบลและอำเภอแบบเดิม ตำบลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตจอมทอง ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง

ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของทางสำนักงานเขต ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การบริหารในกรุงเทพมหานครใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต

ลักษณะทางกายภาพ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศของเขตจอมทองเป็นที่ราบลุ่มโดยตลอด ในอดีตมีสภาพเป็นเรือกสวนไร่นา แบบสังคมชนบท มีการทำการเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันลักษณะการใช้ที่ดิน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกือบหมดแล้ว กลายเป็นสังคมเมือง เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารพาณิชย์ โรงงาน อุตสาหกรรม และสถานประกอบกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาด ใหญ่ ตลอดจนหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ มากมาย พื้นที่สวนอยู่เหลือเพียงเล็กน้อย และที่มีชื่อเสียงคือ สวนส้ม บางมดและสวนลิ้นจี่

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ท้องที่สำนักงานเขตจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
บางขุนเทียน Bang Khun Thian
5.789
36,479
14,497
6,301.43
บางค้อ Bang Kho
3.375
35,277
17,862
10,452.44
บางมด Bang Mot
11.918
44,825
23,072
3,761.11
จอมทอง Chom Thong
5.183
34,593
15,675
6,674.31
ทั้งหมด
26.265
151,174
71,106
5,755.72

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ในพื้นที่เขตจอมทองมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรอง ได้แก่

  • ถนนกำนันแม้น
  • ถนนพุทธบูชา
  • ถนนจอมทองบูรณะ
  • ถนนเทอดไท
  • ถนนอนามัยงามเจริญ
  • ซอยพระรามที่ 2 ซอย 28 (วัดสีสุก / รัตนกวี) และซอยจอมทอง 19 (วัจนะ)
  • ซอยพระรามที่ 2 ซอย 33 (วัดยายร่ม)
  • ซอยพระรามที่ 2 ซอย 18 / ซอยสุขสวัสดิ์ 14 (สถานีตำรวจบางมด)

ทางน้ำ[แก้]

  • คลองสนามชัย
  • คลองด่าน
  • คลองบางขุนเทียน
  • คลองดาวคะนอง
  • คลองบางมด
  • คลองวัดกก
  • คลองวัดสิงห์
  • คลองบางปะแก้ว
  • คลองลัดเช็ดหน้า
  • คลองบางสะแก
  • คลองบางระแนะ
  • คลองบางระแนะน้อย
  • คลองบางประทุน
  • คลองบางหว้า
  • คลองสวนเลียบ
  • คลองบางค้อ
  • คลองวัดโคนอน
  • คลองสวนหลวงใต้
  • คลองลำรางสาธารณะ
  • คลองตาฉ่ำ
  • คลองวัดนางชี
  • คลองวัดใหม่ยายนุ้ย
  • คลองยายจำปี
  • คลองกอไผ่ขวด
  • คลองตาสุก
  • คลองบัว

สถานที่สำคัญ[แก้]

โรงเรียน[แก้]

วัด[แก้]

อื่น ๆ[แก้]

Call Now Button