Category Archives: ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (อักษรโรมัน: Thanon Somdet Phra Chao Tak Sin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ลักษณะ[แก้]
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจร มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 36–38 เมตร ระยะทางยาว 3.692 กิโลเมตร[1] มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ในพื้นที่แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านปากถนนเจริญรัถ ข้ามคลองบางไส้ไก่ ตัดกับถนนราชพฤกษ์และถนนกรุงธนบุรีที่ทางแยกตากสินและเข้าพื้นที่แขวงบุคคโล ข้ามคลองสำเหร่ ตัดกับทางเข้า-ออกโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่ทางแยกโรงพยาบาลทหารเรือ ตัดกับทางขึ้น-ลงสะพานพระราม 3 ข้ามคลองบางน้ำชน ตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนมไหสวรรย์ที่ทางแยกมไหสวรรย์และเข้าพื้นที่แขวงดาวคะนอง ตัดกับซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 37 ที่ทางแยกตากสิน 37 ข้ามคลองบางสะแกเข้าพื้นที่แขวงจอมทอง เขตจอมทอง ตัดกับถนนจอมทองที่ทางแยกดาวคะนอง และไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองดาวคะนอง โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนสุขสวัสดิ์
ประวัติ[แก้]
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็น “ถนนสายที่ 1” ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 1 ไว้ตั้งแต่เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ตัดกับถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนอินทรพิทักษ์และถนนลาดหญ้า) แล้วมุ่งตรงต่อไปจนถึงคลองดาวคะนอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อถนนสายต่าง ๆ ในโครงการดังกล่าวถวาย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสนอชื่อถนนสายที่ 1 ว่า “ถนนพระปกเกล้า” และ “ถนนประชาธิปก”[2] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระนามเดิมคือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและสร้างถนนเชื่อมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เมื่อพระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนประชาธิปก[2]
เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ทางราชการสร้างถนนประชาธิปกไปได้เพียงช่วงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ถึงทางรถไฟสายแม่กลอง ส่วนช่วงทางรถไฟสายแม่กลองถึงคลองดาวคะนองยังไม่ได้สร้างต่อ จนกระทั่งกรมโยธาเทศบาลได้ตกลงกับเทศบาลนครธนบุรีว่า การสร้างถนนในเขตเทศบาลให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล และให้เทศบาลนครธนบุรีรับช่วงตัดถนนสายนี้พร้อมกับถนนสายเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือถนนเจริญนคร) ถนนสายตลาดพลู-ภาษีเจริญ (ปัจจุบันคือถนนเทอดไทบางส่วนและถนนรัชมงคลประสาธน์) และถนนท่าดินแดงบางส่วน โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482[3] เทศบาลนครธนบุรีได้เริ่มกรุยทางและถมดินเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2481 จนเสร็จเรียบร้อยในเดือนมกราคม ปีเดียวกัน[4] เมื่อได้รอให้ดินยุบตัวพอสมควรแล้วจึงเริ่มงานหินเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2482[3]
อนึ่ง เนื่องจากถนนประชาธิปกช่วงทางรถไฟสายแม่กลองถึงคลองดาวคะนองเพิ่งมาสร้างสำเร็จในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ซึ่งสภาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน ประกอบกับรัฐบาลไทยสมัยนั้นมีโครงการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น ณ กลางวงเวียนใหญ่ ทางราชการจึงเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อถนนประชาธิปกช่วงดังกล่าวเป็น ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อให้ชื่อถนนสายนี้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับพระบรมราชานุสาวรีย์[3]