Category Archives: ถนนเอกชัย
ถนนเอกชัย
ถนนเอกชัย is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
ถนนเอกชัย (อักษรโรมัน: Thanon Ekkachai) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3242 สายสมุทรสาคร–โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มต้นจากถนนจอมทองบริเวณสะพานคลองด่านในพื้นที่เขตจอมทอง ผ่านถนนกำนันแม้น ข้ามคลองวัดสิงห์เข้าพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นตัดกับถนนบางบอน 1 ถนนบางขุนเทียน ถนนกาญจนาภิเษก ถนนบางบอน 3 และถนนบางบอน 5 ผ่านโรงเรียนศึกษานารีวิทยา เข้าเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านวัดโพธิ์แจ้ ถนนเทพกาญจนา ถนนเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ข้ามสะพานตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 บริเวณมหาชัยเมืองใหม่ เข้าสู่เขตเทศบาลนครสมุทรสาคร ผ่านถนนเศรษฐกิจ 1 สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 กิโลเมตรที่ 30 ระยะทางจากถนนบางขุนเทียนประมาณ 23 กิโลเมตร
ถนนเอกชัยนับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 ถึงกิโลเมตรที่ 1+191 มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครเป็นผู้ดูแล นับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1+191 ถึงกิโลเมตรที่ 13+746 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงเศรษฐกิจ แขวงทางหลวงสมุทรสาคร ต่อจากนั้นตั้งแต่กิโลเมตรที่ 13+746 ถึงกิโลเมตรที่ 19+650 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงบางขุนเทียน แขวงทางหลวงธนบุรี ก่อนเส้นทางที่เหลือจนถึงถนนจอมทองจะอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา
การก่อสร้าง[แก้]
ถนนเอกชัยหรือทางหลวงสายบางขุนเทียน-สมุทรสาคร ก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นถนนคอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจรสวนทาง กว้าง 7 เมตร ยาว 17.1 กิโลเมตร รวมทั้งวางท่อส่งน้ำ สะพานคอนกรีต และขอบถนนคอนกรีต
ต่อมาเมื่อเกิดการขยายตัวของชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ถนนคับแคบและมีปัญหาชำรุดทรุดโทรมอย่างหนัก จึงก่อสร้างและขยายถนนเอกชัยจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4-6 ช่องจราจร ผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ช่วงกิโลเมตรที่ 5+900 (สะพานข้ามถนนพระรามที่ 2 บริเวณมหาชัยเมืองใหม่) ถึงกิโลเมตรที่ 19+600 (สะพานข้ามถนนกาญจนาภิเษก) งบประมาณ 870 ล้านบาท มีบริษัท พรหมวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้รับเหมา ลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 แต่ทั้งนี้ถนนบางช่วงยังมีสภาพเป็นคอขวด บริเวณสามแยกถนนเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ตำบลคอกกระบือ และบริเวณถนนทางเข้าสนามกอล์ฟเอกชัย ตำบลบางน้ำจืด ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากติดปัญหาเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกว่า 20 แปลง ที่เจ้าของไม่ยอมรื้อย้าย และยังตกลงแนวเขตกันไม่ได้
ถนนเอกชัยตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0+000 เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร มีช่องทางเว้นไว้ตรงกลาง 1 ช่องจราจรโดยไม่มีเกาะกลางถนน จากนั้นเมื่อถึงสี่แยกโรงพัก (ตัดกับถนนเศรษฐกิจ 1) จนถึงสามแยกกิจมณี เป็นถนนขนาด 8 ช่องจราจร มีเกาะกลางถนน จากนั้นถนนช่วงที่เหลือช่องจราจรจะลดเหลือ 4-6 ช่องจราจรตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1+191 (สะพานข้ามคลองจาก) จนสุดถนน ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1+191 ถึงกิโลเมตรที่ 5+900 บริษัท ศิริไพบูลย์พัฒนาการ จำกัด เป็นผู้รับเหมาในการขยายช่องจราจร
สถานที่สำคัญ[แก้]
สถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร[แก้]
- วัดราชโอรสาราม
- วัดไทรและตลาดน้ำวัดไทร
- ศาลอาญาธนบุรี
- โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
- วัดสิงห์
- ตลาดปิ่นทอง
- ตลาดบางบอน
- โรงพยาบาลบางกอก 8 อินเตอร์เนชั่นแนล
- เรือนจำพิเศษธนบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม
- สถานีตำรวจนครบาลบางบอน
- วัดบางบอน
- สำนักงานเขตบางบอน
- โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
- ทัณฑสถานหญิงธนบุรี
- วัดแก้วไพฑูรย์
สถานที่สำคัญในเขตจังหวัดสมุทรสาคร[แก้]
- ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด
- วัดโพธิ์แจ้
- ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือ
- โรงพยาบาลเอกชัย
- โรงพยาบาลสมุทรสาคร
- สถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรสาคร
- โรงเรียนเอกชัย
- โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
- สนามกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร
- สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสาคร
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครเขตจอมทอง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี มีลำรางสาธารณะ คลองบางประทุน คลองตาฉ่ำ คลองรางบัว คลองสวนหลวงใต้ คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองตาม่วง คลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองด่าน คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองแยกบางสะแก 13 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตราษฎร์บูรณะ มีคลองบางสะแก คลองดาวคะนอง และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว คลองยายจำปี คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองบางมด คลองตาสุก และคลองบัว (คลองตาเปล่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตภาษีเจริญ มีคลองวัดกก คลองสนามชัย คลองวัดสิงห์ และคลองบางระแนะเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
มาจากชื่อวัดจอมทอง ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าวัดเจ้าทอง บ้างก็ว่าวัดกองทอง นักวิชาการสันนิษฐานว่าวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปัจจุบันวัดจอมทองมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ประวัติศาสตร์[แก้]
บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้น เนื่องจากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่ง ตำบลจอมทอง ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยโอนพื้นที่ 11 หมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางมดออกมา
ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยกเลิกการเรียกชื่อตำบลและอำเภอแบบเดิม ตำบลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตจอมทอง ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง
ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของทางสำนักงานเขต ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การบริหารในกรุงเทพมหานครใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต
ลักษณะทางกายภาพ[แก้]
ลักษณะภูมิประเทศของเขตจอมทองเป็นที่ราบลุ่มโดยตลอด ในอดีตมีสภาพเป็นเรือกสวนไร่นา แบบสังคมชนบท มีการทำการเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันลักษณะการใช้ที่ดิน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกือบหมดแล้ว กลายเป็นสังคมเมือง เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารพาณิชย์ โรงงาน อุตสาหกรรม และสถานประกอบกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาด ใหญ่ ตลอดจนหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ มากมาย พื้นที่สวนอยู่เหลือเพียงเล็กน้อย และที่มีชื่อเสียงคือ สวนส้ม บางมดและสวนลิ้นจี่
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ท้องที่สำนักงานเขตจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)บางขุนเทียน Bang Khun Thian 5.78936,47914,4976,301.43บางค้อ Bang Kho 3.37535,27717,86210,452.44บางมด Bang Mot 11.91844,82523,0723,761.11จอมทอง Chom Thong 5.18334,59315,6756,674.31ทั้งหมด 26.265151,17471,1065,755.72ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
เขตจอมทอง[2]การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตจอมทองมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 2
- ถนนเอกชัย
- ถนนวุฒากาศ
- ถนนจอมทอง
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนราชพฤกษ์
- ถนนกัลปพฤกษ์
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
- ถนนกำนันแม้น
- ถนนพุทธบูชา
- ถนนจอมทองบูรณะ
- ถนนเทอดไท
- ถนนอนามัยงามเจริญ
- ซอยพระรามที่ 2 ซอย 28 (วัดสีสุก / รัตนกวี) และซอยจอมทอง 19 (วัจนะ)
- ซอยพระรามที่ 2 ซอย 33 (วัดยายร่ม)
- ซอยพระรามที่ 2 ซอย 18 / ซอยสุขสวัสดิ์ 14 (สถานีตำรวจบางมด)
ทางน้ำ[แก้]
- คลองสนามชัย
- คลองด่าน
- คลองบางขุนเทียน
- คลองดาวคะนอง
- คลองบางมด
- คลองวัดกก
- คลองวัดสิงห์
- คลองบางปะแก้ว
- คลองลัดเช็ดหน้า
- คลองบางสะแก
- คลองบางระแนะ
- คลองบางระแนะน้อย
- คลองบางประทุน
- คลองบางหว้า
- คลองสวนเลียบ
- คลองบางค้อ
- คลองวัดโคนอน
- คลองสวนหลวงใต้
- คลองลำรางสาธารณะ
- คลองตาฉ่ำ
- คลองวัดนางชี
- คลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- คลองยายจำปี
- คลองกอไผ่ขวด
- คลองตาสุก
- คลองบัว
สถานที่สำคัญ[แก้]
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”
- โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
- โรงเรียนวัดราชโอรส
- โรงเรียนเลิศพัฒนา
- โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม
- โรงเรียนวัดไทร
วัด[แก้]
- วัดแก้วไพฑูรย์หรือวัดบางประทุนใน
- วัดไทร
- วัดนาคนิมิตร
- วัดนางนองวรวิหาร
- วัดบางขุนเทียนนอก
- วัดบางขุนเทียนกลาง
- วัดบางประทุนนอก
- วัดบางขุนเทียนใน
- วัดโพธิ์แก้ว
- วัดโพธิ์ทอง
- วัดมงคลวราราม (วัดมะเกลือ)
- วัดยายร่มโพธิ์นิมิตร
- วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
- วัดศาลาครืน
- วัดสิงห์
- วัดสีสุก
- วัดหนังราชวรวิหาร
อื่น ๆ[แก้]