Category Archives: สถานีวุฒากาศ

สถานีวุฒากาศ

สถานีวุฒากาศ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search  by address the focus keyword name in category.

สถานีวุฒากาศ เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเขตธนบุรีเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีวุฒากาศ[แก้]

วุฒากาศ
Wutthakat
BTS Wutthakat stn. platform.JPG
ข้อมูลสถานี
เส้นทาง  สายสีลม 
รหัสสถานี S11
ที่ตั้ง เขตธนบุรีเขตจอมทอง
ถนน ราชพฤกษ์
แผนที่ เว็บไซต์ BTSC
ข้อมูลอื่น ๆ
วันที่เปิดให้บริการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลาให้บริการ 06.00 – 24.00 น.
ผู้รับผิดชอบ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
รูปแบบสถานี ยกระดับ
รูปแบบชานชาลา ด้านข้าง
จำนวนชานชาลา 2
ทางออก 5
บันไดเลื่อน 4
ลิฟต์ 4
จุดเชื่อมต่อ
รถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม

สถานีวุฒากาศ (อังกฤษWutthakat Station; รหัสสถานี: S11) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทาง รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสีลม ส่วนต่อขยายแยกตากสิน-บางหว้า โดยสถานียกระดับเหนือ ถนนราชพฤกษ์ กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกราชพฤกษ์-วุฒากาศและจะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ในอนาคต

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนราชพฤกษ์ ด้านทิศตะวันตกของสี่แยกราชพฤกษ์-วุฒากาศ โดยสร้างคร่อมคลองด่าน คลองสนามไชย ในพื้นที่แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี และแขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ก่อนหน้านี้ บริเวณสถานีวุฒากาศได้คาดหมายให้เป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีตากสินของโครงการศูนย์คมนาคมขนส่งตากสิน ซึ่งจะเป็นศูนย์คมนาคมแบบครบวงจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครด้านใต้ มีทั้งระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟทางไกลและสถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้จึงต้องปรับปรุงแก้ไขแนวเส้นทางหลายครั้งเพื่อให้รถไฟฟ้าเชื่อมต่อกันภายในโครงการโดยตรง (บริเวณด้านทิศตะวันออกของสี่แยกราชพฤกษ์-วุฒากาศ) แต่ภายหลังรัฐบาลได้ล้มเลิกโครงการนี้ไป เนื่องจากประชาชนในพื้นที่คัดค้านอย่างหนักเพราะเป็นชุมชนหนาแน่นและต้องเวนคืนบ้านเรือนไปเป็นจำนวนมาก ในที่สุด โครงการการก่อสร้างสถานีวุฒากาศแห่งนี้จึงกลับมาใช้แนวถนนราชพฤกษ์และเป็นจุดเชื่อมต่อสถานีของเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่อยู่ห่างออกไปเล็กน้อยเช่นเดิม

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3  สายสีลม  มุ่งหน้า สถานีบางหว้า
ชานชาลา 4  สายสีลม  มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนราชพฤกษ์

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (Side Platform Station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนของหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1&2 ถนนราชพฤกษ์ (บันไดเลื่อนและลิฟต์)
  • 3 วัดใหม่ยายนุ้ย
  • 4 ซอยวุฒากาศ 27 (ลิฟต์)
  • 5 คลองด่าน

จุดรวมพลอยู่ที่ ทางออก 1&2 และ ทางออก 4 ใกล้กับถนนวุฒากาศ

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม
S12 บางหว้า 05.52 00.51
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ 05.32 00.07
CEN_SLM สยาม
(ขบวนสุดท้ายที่ไปทันสายสุขุมวิท
มุ่งหน้าสถานีเคหะฯ ขบวนสุดท้าย)
23.38

สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีวุฒากาศ[แก้]

วุฒากาศ
Wutthakat
ข้อมูลสถานี
เส้นทาง  สายสีแดงเข้ม 
รหัสสถานี RS10
เขตที่ตั้ง เขตธนบุรีเขตจอมทอง
ถนน ถนนวุฒากาศ
แผนที่ เว็บไซต์ รฟท.
ข้อมูลอื่นๆ
เวลาให้บริการ
ผู้รับผิดชอบ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
รูปแบบสถานี ยกระดับ
รูปแบบชานชาลา ด้านข้าง
จำนวนชานชาลา 2
ทางออก 2
บันไดเลื่อน
ลิฟต์
จุดเชื่อมต่อ
รถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

สถานีวุฒากาศ (อังกฤษWutthakat Station; รหัสสถานี: RS10) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม

ที่ตั้ง[แก้]

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 17  สายสีแดงเข้ม  มุ่งหน้า สถานีธรรมศาสตร์รังสิต
ชานชาลา 18  สายสีแดงเข้ม  มุ่งหน้า สถานีมหาชัย
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนวุฒากาศ

หมายเหตุ : หมายเลขชานชลาอ้างอิงตามหมายเลขชานชลาในสถานีกลางบางซื่อ

ทางเข้า-ออก[แก้]

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีแดงเข้ม
RS23 มหาชัย
RN13 ธรรมศาสตร์รังสิต

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนวุฒากาศ ไปถนนเทอดไท : สาย 9, 43, 111
  • ถนนวุฒากาศ ไปถนนเอกชัย : สาย 43, 111

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

  • สวนงูธนบุรี
  • วัดใหม่ยายนุ้ย
  • วัดนางชีโชติการาม
  • วัดนาคปรก

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์13.71228°N 100.4711°E

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีตลาดพลู
มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
 สายสีลม  สถานีบางหว้า
สถานีปลายทาง
สถานีตลาดพลู
มุ่งหน้า สถานีธรรมศาสตร์รังสิต
 สายสีแดงเข้ม  สถานีจอมทอง
มุ่งหน้า สถานีมหาชัย

 

เขตจอมทอง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี มีลำรางสาธารณะ คลองบางประทุน คลองตาฉ่ำ คลองรางบัว คลองสวนหลวงใต้ คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองตาม่วง คลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองด่าน คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองแยกบางสะแก 13 เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตราษฎร์บูรณะ มีคลองบางสะแก คลองดาวคะนอง และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว คลองยายจำปี คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองบางมด คลองตาสุก และคลองบัว (คลองตาเปล่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตภาษีเจริญ มีคลองวัดกก คลองสนามชัย คลองวัดสิงห์ และคลองบางระแนะเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

มาจากชื่อวัดจอมทอง ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าวัดเจ้าทอง บ้างก็ว่าวัดกองทอง นักวิชาการสันนิษฐานว่าวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปัจจุบันวัดจอมทองมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

ประวัติศาสตร์[แก้]

บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้น เนื่องจากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่ง ตำบลจอมทอง ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยโอนพื้นที่ 11 หมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางมดออกมา

ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยกเลิกการเรียกชื่อตำบลและอำเภอแบบเดิม ตำบลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตจอมทอง ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง

ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของทางสำนักงานเขต ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การบริหารในกรุงเทพมหานครใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต

ลักษณะทางกายภาพ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศของเขตจอมทองเป็นที่ราบลุ่มโดยตลอด ในอดีตมีสภาพเป็นเรือกสวนไร่นา แบบสังคมชนบท มีการทำการเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันลักษณะการใช้ที่ดิน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกือบหมดแล้ว กลายเป็นสังคมเมือง เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารพาณิชย์ โรงงาน อุตสาหกรรม และสถานประกอบกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาด ใหญ่ ตลอดจนหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ มากมาย พื้นที่สวนอยู่เหลือเพียงเล็กน้อย และที่มีชื่อเสียงคือ สวนส้ม บางมดและสวนลิ้นจี่

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ท้องที่สำนักงานเขตจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
บางขุนเทียน Bang Khun Thian
5.789
36,479
14,497
6,301.43
บางค้อ Bang Kho
3.375
35,277
17,862
10,452.44
บางมด Bang Mot
11.918
44,825
23,072
3,761.11
จอมทอง Chom Thong
5.183
34,593
15,675
6,674.31
ทั้งหมด
26.265
151,174
71,106
5,755.72

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ในพื้นที่เขตจอมทองมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรอง ได้แก่

  • ถนนกำนันแม้น
  • ถนนพุทธบูชา
  • ถนนจอมทองบูรณะ
  • ถนนเทอดไท
  • ถนนอนามัยงามเจริญ
  • ซอยพระรามที่ 2 ซอย 28 (วัดสีสุก / รัตนกวี) และซอยจอมทอง 19 (วัจนะ)
  • ซอยพระรามที่ 2 ซอย 33 (วัดยายร่ม)
  • ซอยพระรามที่ 2 ซอย 18 / ซอยสุขสวัสดิ์ 14 (สถานีตำรวจบางมด)

ทางน้ำ[แก้]

  • คลองสนามชัย
  • คลองด่าน
  • คลองบางขุนเทียน
  • คลองดาวคะนอง
  • คลองบางมด
  • คลองวัดกก
  • คลองวัดสิงห์
  • คลองบางปะแก้ว
  • คลองลัดเช็ดหน้า
  • คลองบางสะแก
  • คลองบางระแนะ
  • คลองบางระแนะน้อย
  • คลองบางประทุน
  • คลองบางหว้า
  • คลองสวนเลียบ
  • คลองบางค้อ
  • คลองวัดโคนอน
  • คลองสวนหลวงใต้
  • คลองลำรางสาธารณะ
  • คลองตาฉ่ำ
  • คลองวัดนางชี
  • คลองวัดใหม่ยายนุ้ย
  • คลองยายจำปี
  • คลองกอไผ่ขวด
  • คลองตาสุก
  • คลองบัว

สถานที่สำคัญ[แก้]

โรงเรียน[แก้]

วัด[แก้]

อื่น ๆ[แก้]

Call Now Button