Category Archives: รถไฟฟ้าสายสีฟ้า
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2553-2572 โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่เชื่อมต่อจุดสำคัญใจกลางเมือง มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่านดินแดง ซึ่งมีโครงการพัฒนาเคหะชุมชนดินแดง โครงการพัฒนาย่านมักกะสัน และการเปิดใช้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ระยะที่ 2-4 รวมทั้งเพื่อเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจบนถนนสาทร โดยมีแนวเส้นทางจากเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง) ไปยังถนนวิทยุ และถนนสาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 319,000 รายต่อวันในปี พ.ศ. 2572
ปัจจุบันโครงการได้ถูกนำมาบรรจุลงไปใหม่ ในแผนแม่บทระยะที่ 1 (M Map1) ที่ประกาศยืนยันโดยกรมการขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2572
เนื้อหา
พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน[แก้]
เขตดินแดง, ราชเทวี, ปทุมวัน, บางรัก และสาทร กรุงเทพมหานคร
แนวเส้นทาง[แก้]
เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีประชาสงเคราะห์ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม บริเวณที่ตั้งของศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ลงมาทางทิศใต้ผ่านเคหะชุมชนดินแดง แยกประชาสงเคราะห์ จุดตัดถนนอโศก-ดินแดง ยกระดับข้ามทางพิเศษศรีรัชบริเวณบึงมักกะสัน เข้าสู่พื้นที่ของศูนย์คมนาคมมักกะสัน โดยวิ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางที่เตรียมไว้สำหรับระบบรางเดี่ยวภายในศูนย์ฯ ผ่านสถานีมักกะสัน แยกอโศก-เพชรบุรี และเลี้ยวไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี ผ่านแยกมิตรสัมพันธ์ จุดตัดถนนนิคมมักกะสัน และถนนนานาเหนือ ยกระดับข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางด่วนเพชรบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายที่แยกวิทยุ-เพชรบุรีเข้าสู่แนวถนนวิทยุลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกเพลินจิต สถานทูตอเมริกา แยกสารสิน สวนลุมพินี ยกข้ามสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม ถนนพระรามที่ 4 ที่แยกวิทยุ เข้าสู่ถนนสาทร ผ่านแยกถนนสวนพลู ไปสิ้นสุดที่แยกสาทร-นราธิวาส จุดตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
เขตดินแดง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
เขตดินแดงตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อ คลองพระยาเวิก และคลองน้ำแก้วเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราชเทวี มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพญาไท มีถนนวิภาวดีรังสิตเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตดินแดงในอดีตเป็นทุ่งนากว้างขวางเช่นเดียวกับท้องที่รอบนอกแห่งอื่น ๆ ในจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดถนนต่อจากปลายถนนราชวิถีตรงหัวมุมที่บรรจบกับถนนราชปรารภ (ปัจจุบันคือบริเวณสะพานพรหมโยธี[2] ใกล้ทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง เขตราชเทวี) เข้ามาในพื้นที่ และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา (ถนนประชาสงเคราะห์) ในปัจจุบัน[3] ต่อมาถนนสายนี้ได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในพื้นที่ แต่เนื่องจากใช้ดินลูกรังเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เมื่อรถยนต์วิ่งผ่านจึงทำให้เกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว[3] หลังคาบ้านเรือนถูกฝุ่นจับกลายเป็นสีแดง[2] ผู้คนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนดินแดง” และเรียกย่านนั้นว่า “ดินแดง”[3] ภายหลังเมื่อทางราชการมีนโยบายเพิ่มเขตการปกครองใหม่ในกรุงเทพมหานคร ก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของแขวงและเขตด้วย