Category Archives: สนามม้านางเลิ้ง

สนามม้านางเลิ้ง

สนามม้านางเลิ้ง is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อังกฤษRoyal Turf Club of Thailand under the Royal Patronage) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สนามม้านางเลิ้ง[1] เป็นสถานที่จัดแข่งขันม้าในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่เลขที่ 183 ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เปิดสนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2459

บื้องหลังและพื้นภูมิ[แก้ไขต้นฉบับ]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จกลับจากประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2440 สโมสรน้ำเค็มศึกษา สมาคมของข้าราชการและนักเรียนที่เคยไปทำงาน ศึกษา หรือเดินทางไปยุโรป ได้ร่วมกับเจ้าของคอกม้าต่างๆ จัดแข่งม้าเทียมรถ เพื่อเป็นการต้อนรับและถวายความจงรักภักดีต่อในหลวงรัชกาลที่ 5 โดยปรับให้ท้องสนามหลวงกลายเป็นสนามแข่งม้าชั่วคราว นับเป็นการจัดกีฬาแข่งม้าแบบตะวันตกครั้งแรกของประเทศไทย ในปี 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้จัดตั้งราชกรีฑาสโมสร หรือที่เรียกกว่าว่า “สนามฝรั่ง” เพื่อเป็นทั้งแหล่งบันเทิงจำกัดวงสำหรับคนต่างชาติ

ก่อตั้ง[แก้ไขต้นฉบับ]

กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6 พระยาประดิพัทธภูบาลและพระยาอรรถการประสิทธิ์ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระบรมราชานุญาตตั้งสโมสรสนามม้า “สนามไทย” แข่งเพื่อให้บริการแข่งม้าสำหรับคนไทยและนำรายได้มาใช้บำรุงพันธุ์ม้าจากประเทศออสเตรเลียและอังกฤษ ทรงมีพระบรมราชานุญาตพร้อมทั้งได้พระราชทาน นามว่า “ราชตฤณมัยสมาคมแห่งกรุงสยาม” อีกทั้ง ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2459 และพระราชทานนามว่า ราชตฤณมัยสมาคม รวมไปถึงยังทรงส่งม้าในคอกของพระองค์เข้าร่วมแข่งอีกด้วย สมาคมฯ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจการแข่งม้า จัดทำทะเบียนประวัติม้า เจ้าของและผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนการแข่งขันจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์เว้นอาทิตย์ สลับกันกับราชกรีฑาสโมสร และยังมีการให้บริการอื่น ๆ เช่น สนามเทนนิส, สระว่ายน้ำห้องอาหาร จัดเลี้ยงต่าง ๆ[2][3]

ราชตฤณมัยสมาคมในการเมืองไทย[แก้ไขต้นฉบับ]

รัฐบาลในสมัย สัญญา ธรรมศักดิ์ ใช้ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นสถานที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติที่มีจำนวน 2,347 คน เป็นที่มาของฉายา “สภาสนามม้า” [4]

ต่อมาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นสถานที่จัดชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยองค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งนำโดย พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เลขาธิการราชตฤณมัยสมาคมฯ[4]

สัญญาเช่า[แก้ไขต้นฉบับ]

ราชตฤณมัยสมาคมในพระบรมราชฯ เป็นผู้เช่าอาคารและที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ บริเวณสนามม้านางเลิ้ง จำนวน 3 สัญญาเช่า ฉบับที่ 2976/2542 , 2977/2542 และ 2978/2542 ลงวันที่ 29 ก.ย. 2542 นั้น โดยปรากฏว่าทั้งสามสัญญามีกำหนดอายุสัญญาเช่า 6 เดือน นับแต่วันที่ 1 ส.ค. 2542 เป็นต้นไป ในอัตราเช่าเดือนละ 30,000 บาท, 10,000 บาท และ 10,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งรายละเอียดและเงื่อนไขสัญญาเช่าเป็นที่ทราบกันนั้น ปัจจุบันสัญญาเช่าทั้งสามฉบับได้ครบกำหนดอายุสัญญาเช่ามานานแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ จำเป็นต้องใช้ที่ดินและอาคารดังกล่าว จึงไม่สามารถให้ราชตฤณมัยสมาคมฯ เป็นผู้เช่าได้อีกต่อไป ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้ประสานและแจ้งให้ราชตฤณมัยสมาคมฯ ทราบในเบื้องต้นแล้ว สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์บอกเลิกสัญญาเช่าสนามม้านางเลิ้งและขอให้ส่งมอบสถานที่เช่าภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561[5][6][7][8]

รื้อถอน[แก้ไขต้นฉบับ]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ได้ทำการรื้อถอนสนามม้าหลังจากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้บอกเลิกสัญญาเช่า พร้อมให้ส่งมอบพื้นที่คืนภายใน 180 วัน โดยหลังจากนี้ บริเวณดังกล่าวจะมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถวายสักการะ รวมทั้งเป็นพื้นที่สวนสาธารณะให้ประชาชนสามารถมาพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย[9]

เขตดุสิต เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย โดยจัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑลกรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอและตำบลเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ โดย อำเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อำเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 2481 อำเภอบางซื่อซึ่งเป็นอำเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลมาขึ้นกับอำเภอดุสิต และเนื่องจากทางอำเภอมีจำนวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตำบลสามเสนใน ตำบลมักกะสัน ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลถนนพญาไท ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท ในปี พ.ศ. 2509

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีหน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง

ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 [2]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2561)
ดุสิต Dusit
2.233
12,583
2,533
5,635.02
วชิรพยาบาล Wachiraphayaban
1.074
10,808
3,062
10,063.31
สวนจิตรลดา Suan Chit Lada
1.737
8,821
2,471
5,078.29
สี่แยกมหานาค Si Yaek Maha Nak
0.339
7,422
2,434
21,893.81
ถนนนครไชยศรี Thanon Nakhon Chai Si
5.282
55,220
20,794
10,454.37
ทั้งหมด
10.665
94,854
31,294
8,893.95
Call Now Button