Category Archives: แขวงสำเหร่
แขวงสำเหร่
แขวงสำเหร่ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
แขวงสำเหร่ เป็นแขวงหนึ่งใน 7 แขวงของเขตธนบุรี
เขตธนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตพระนคร มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า (บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และคลองบางไส้ไก่ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองดาวคะนองเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ มีคลองบางสะแก คลองแยกบางสะแก 13 คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตธนบุรีเดิมมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในขึ้นกับกรมนครบาล ตั้งที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของวัดราชคฤห์ จึงเรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอราชคฤห์ (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดเวฬุราชิณ) ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็น อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตตำบลบางยี่เรือ
ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบจังหวัดธนบุรีรวมกับจังหวัดพระนครให้มีฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ดังนั้น เพื่อรักษาคำว่า “ธนบุรี” ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงและเพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประกอบกับอำเภอบางยี่เรือนี้เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดธนบุรีด้วย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางยี่เรือเป็น อำเภอธนบุรี ขึ้นกับนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตธนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา
ครั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวงใหม่ในเขตธนบุรี เนื่องจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้แบ่งแขวงขนาดใหญ่ให้ย่อยลง เพื่อความชัดเจนในการให้บริการของสำนักงานเขต โดยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู นำมาจัดตั้งเป็นแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง แยกจากพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2] ทำให้ปัจจุบัน เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2562) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
วัดกัลยาณ์ | Wat Kanlaya |
0.785
|
8,669
|
2,765
|
11,043.31
|
หิรัญรูจี | Hiran Ruchi |
0.691
|
11,906
|
3,967
|
17,230.10
|
บางยี่เรือ | Bang Yiruea |
1.523
|
20,691
|
7,973
|
13,585.68
|
บุคคโล | Bukkhalo |
1.210
|
17,374
|
12,979
|
14,358.67
|
ตลาดพลู | Talat Phlu |
1.823
|
15,080
|
8,907
|
8,272.07
|
ดาวคะนอง | Dao Khanong |
1.289
|
17,392
|
11,881
|
13,492.62
|
สำเหร่ | Samre |
1.230
|
14,937
|
8,619
|
12,143.90
|
ทั้งหมด |
8.551
|
106,049
|
57,091
|
12,401.94
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตธนบุรี[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางรถยนต์[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตธนบุรี ได้แก่
- ถนนอิสรภาพ เชื่อมถนนประชาธิปก (สี่แยกบ้านแขก) กับสะพานเจริญพาศน์
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับสะพานข้ามคลองดาวคะนอง
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างถนนประชาธิปกกับสะพานอนุทินสวัสดิ์
- ถนนมไหสวรรย์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สี่แยกมไหสวรรย์) กับสะพานกรุงเทพ
- ถนนรัชดาภิเษก เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สี่แยกมไหสวรรย์) กับสะพานตลาดพลู
- ถนนเจริญนคร เชื่อมระหว่างสะพานเจริญนคร 5 ถึงสะพานเจริญนคร 8
- ถนนประชาธิปก เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับเชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
- ถนนวุฒากาศ เชื่อมถนนเทอดไท (สามแยกวุฒากาศ) กับสะพานข้ามคลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- ถนนเทอดไท เชื่อมถนนอินทรพิทักษ์ (สามแยกบางยี่เรือ) กับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
- ถนนกรุงธนบุรี เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่
- ถนนราชพฤกษ์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
เขตธนบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง ได้แก่
- สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตพระนคร
- สะพานพระราม 3 เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
- สะพานกรุงเทพ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
ทางรถไฟ[แก้]
ใช้เส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย จากสถานีรถไฟมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร