Category Archives: เขตบางกอกน้อย
เขตบางกอกน้อย
เขตบางกอกน้อย is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by address the focus keyword name in category.
เขตบางกอกน้อย Khet Bangkok Noi is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
เขตบางกอกน้อย – วิกิพีเดีย
สำนักงานเขตบางกอกน้อย – กรุงเทพมหานคร
เอ็มเค เมทัลชีท (MK Meatlsheet)
เขตบางกอกน้อย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า “สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา”
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกค่อนไปทางเหนือของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางพลัด มีถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ มีคลองมอญเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางขุนศรี คลองชักพระ และคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตบางกอกน้อยเดิมมีชื่อเรียกว่า อำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอที่ 21 ใน 25 อำเภอชั้นในของพระนครตามประกาศกระทรวงนครบาลในปี พ.ศ. 2458
จากนั้นในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภออมรินทร์เป็น อำเภอบางกอกน้อย (พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอหงสารามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ เปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็นอำเภอบางยี่เรือ และเปลี่ยนชื่ออำเภอบุปผารามเป็นอำเภอคลองสาน) เนื่องจากชื่อเดิมยังไม่เหมาะสมกับตำบลที่ตั้งอันเป็นหลักฐานโบราณ ในขณะนั้นอำเภอบางกอกน้อยมีเขตปกครอง 8 ตำบล คือ ตำบลบางอ้อ ตำบลบางพลัด ตำบลบางบำหรุ ตำบลบางยี่ขัน ตำบลบางขุนนนท์ ตำบลบางขุนศรี ตำบลศิริราช และตำบลบ้านช่างหล่อ
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ยกเลิกหน่วยการปกครองจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นหน่วยการปกครองเดียว คือ “กรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น “เขต” และตำบลเป็น “แขวง” ดังนั้น อำเภอบางกอกน้อยจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยแบ่งพื้นที่แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางยี่ขัน และแขวงบางบำหรุ ไปจัดตั้งเป็นเขตบางพลัด เพื่อให้หน่วยงานราชการดูแลปกครองพื้นที่ได้สะดวกขึ้น
และได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 ตัดพื้นที่เขตบางพลัดเฉพาะฝั่งใต้ถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับมาเป็นพื้นที่ของเขตบางกอกน้อย และได้รับการจัดตั้งเป็นแขวงอรุณอมรินทร์
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางกอกน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ศิริราช | Siri Rat |
1.258
|
16,817
|
4,335
|
13,368.04
|
บ้านช่างหล่อ | Ban Chang Lo |
2.076
|
31,557
|
12,087
|
15,200.86
|
บางขุนนนท์ | Bang Khun Non |
1.492
|
9,549
|
4,436
|
6,400.13
|
บางขุนศรี | Bang Khun Si |
4.360
|
32,328
|
14,691
|
7,414.67
|
อรุณอมรินทร์ | Arun Ammarin |
2.758
|
20,166
|
13,562
|
7,311.82
|
ทั้งหมด |
11.944
|
110,417
|
49,111
|
9,244.55
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกอกน้อย[2] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ได้แก่
- ถนนจรัญสนิทวงศ์
- ถนนพรานนก
- ถนนวังหลัง
- ถนนอิสรภาพ
- ถนนอรุณอมรินทร์
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
- ถนนบรมราชชนนี
- ถนนบางขุนนนท์
- ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนสุทธาวาส
- ถนนรถไฟ
- ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้
- ถนนรุ่งประชา
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 22 (ราษฎร์ศรัทธา) และซอยอิสรภาพ 37
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 28 / ซอยอิสรภาพ 39 (วัดดงมูลเหล็ก)
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 35 (วัดมะลิ)
- ซอยอิสรภาพ 44 (แสงศึกษา)
สะพาน[แก้]
- สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อมระหว่างเขตบางกอกน้อยกับเขตพระนคร
ทางน้ำ[แก้]
- แม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองบางกอกน้อย
- คลองชักพระ
- คลองมอญ
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สถาบันวิมุตตยาลัย
- วัดระฆังโฆสิตาราม
- วัดอมรินทราราม
- วัดสุวรรณาราม
- วัดชิโนรสารามวรวิหาร
- โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย
- โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
- โรงเรียนโฆสิตสโมสร
- โรงเรียนสวนอนันต์
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
- มหาวิทยาลัยมหิดล (บางกอกน้อย)
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงพยาบาลศิริราช
- โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- โรงพยาบาลธนบุรี
- ท่าช้างวังหลัง (ท่าน้ำศิริราช)
- สามแยกไฟฉาย
- สี่แยกศิริราช
- สะพานอรุณอมรินทร์
- สถานีรถไฟธนบุรี
- ตลาดพรานนก
- ตลาดศาลาน้ำร้อน
- ตลาดศาลาน้ำเย็น
- ตลาดบางขุนศรี
- ฐานทัพเรือกรุงเทพ
- วังนันทอุทยาน
- กรมอู่ทหารเรือ
- กองดุริยางค์ทหารเรือ
- สโมสรทหารเรือ
- ภัทราวดีเธียเตอร์
- ชุมชนบ้านช่างหล่อ
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
เช้าวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ผู้โดยสารหลายร้อยคนยืนรอเรือด่วนบนโป๊ะเทียบเรือที่ท่าพรานนก ซึ่งเป็นโป๊ะที่ใช้แทงก์ขนาดใหญ่ทำเป็นทุ่นลอยน้ำ มีแผ่นเหล็กเป็นพื้นรองรับ แต่เมื่อผู้โดยสารแย่งกันขึ้นเรือจนผู้โดยสารบางคนตกน้ำและเกิดการมุง ประกอบกับเรือได้กระแทกที่โป๊ะ ทำให้ตัวโป๊ะจมลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณ 10 นาทีหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและทีมแพทย์ได้เข้าช่วยเหลือ และค้นหาผู้ประสบเหตุ พบผู้เสียชีวิตที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กนักเรียนติดอยู่ใต้ตัวโป๊ะที่มีหลังคาคลุม บางส่วนถูกกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากหลังคาโป๊ะดูด จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย
หลังเกิดเหตุการณ์ ได้มีการปรับปรุงโป๊ะตามท่าเรือเจ้าพระยาต่าง ๆ และมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น ทางด้านญาติผู้เสียชีวิตได้ยื่นฟ้องบริษัท สุภัทรา จำกัด, บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานครและกรมเจ้าท่า โดยบริษัทเอกชนได้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนหนึ่งจนมีการถอนฟ้อง ในศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องกรมเจ้าท่า ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กรุงเทพมหานครต้องชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 12 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,616,241 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งเมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วเป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท โดยศาลให้เหตุผลว่ากรุงเทพมหานครกระทำการโดยประมาทจนทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว