Category Archives: ตลาดแฮปปี้แลนด์
ตลาดแฮปปี้แลนด์
ตลาดแฮปปี้แลนด์ is a position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
แฮปปี้แลนด์ เป็นสวนสนุกกลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เข้าทางด้านถนนนวมินทร์หรือถนนสุขาภิบาล 1 ในอดีต เลี้ยวทางธนาคารทหารไทย ผ่านตึกแถวด้านซ้ายมือเข้าไปราว ๆ 400 เมตร ก็จะเป็นบริเวณที่เคยเป็นสวนสนุกขวางอยู่เป็นแนวยาว เคยเป็นที่โชว์ตัวของพระเอกนางเอกจากหนังจีน มังกรหยก คือไป่ เปียว กับ หมี เสว่ มีเครื่องเล่นได้แก่ ชิงช้าสวรรค์ รถไฟเหาะ เรือหรรษา ปาเป้า ม้าหมุน ชิงช้า กระดานหก บ้านผีสิง
เปิดดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2516 ถึง 2522[1] ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นหมู่บ้านสินธร ซอยแฮปปี้แลนด์ 1 และขายเครื่องเล่นบางส่วนให้กับสวนสยาม
ถึงแม้สวนสนุกแฮปปี้แลนด์จะปิดดำเนินการไปแล้ว ย่านดังกล่าวก็ยังเรียกว่า แฮปปี้แลนด์ บริษัทที่เคยเป็นผู้บริหารสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ได้สร้างบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียมในทำเลต่าง ๆ ของกรุงเทพ ในชื่อโครงการว่าแฮปปี้แลนด์ กรุ๊ป , H Cape อยู่
ตำนาน[แก้]
สวนสนุกแฮปปี้แลนด์ เป็นสวนสนุกที่มีตำนานเล่าขานคล้ายกับลัดดาแลนด์ เพียงแค่ต่างกันที่เป็นสวนสนุก ซึ่งที่นี่ มีเครื่องเล่นมากมาย อาทิเช่น ชิงช้าสวรรค์ รถไฟเหาะ เรือหรรษา ปาเป้า ม้าหมุน ชิงช้า กระดานหก บ้านผีสิงหลังเล็กๆ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ไม่หรูเท่าแดนเนรมิต (สร้างหลังแฮปปี้แลนด์) แฮปปี้แลนด์ จะออกสไตล์สวนสนุกคล้ายๆงานวัดในปัจจุบัน เป็นสวนสนุกที่ทำให้คนชั้นกลางถึงชั้นรากหญ้าเล่นโดยเฉพาะ และเป็นที่แรกที่มีสวนสนุก
ดังนั้น นานวันเข้า เครื่องเล่นส่วนใหญ่ก็เก่าและชำรุดไปตามกาลเวลา ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจนมีคนเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กๆ เช่น นั่งชิงช้าสวรรค์ หรือม้าหมุนแล้วพลัดตกลงมาตายบ้าง เล่นเรือหรรษาแล้วเกิดพลัดตกน้ำตายบ้าง ตกราวรถไฟเหาะตายบ้าง (บางกระแสก็ว่า มีคนถูกฆ่าหั่นศพในบ้านผีสิงแล้วเอาศพทิ้งไว้จนเน่าในนั้นเลยก็มี) แต่ละคน จะตายแบบแปลกๆ และตายแบบไม่มีคนเห็นด้วย ลือกันอีกว่ามีฆาตกรโรคจิตคนหนึ่งชอบลักพาตัวเด็กที่มาเล่นเครื่องเล่น ตอนกลางวัน แล้วเชือดคอฆ่าทิ้งในตอนกลางคืน ทิ้งศพไว้ตามบริเวณต่างๆในสวนสนุก แฮปปี้แลนด์จึงเต็มไปด้วยศพของเด็กจำนวนมาก และไม่มีใครรู้ว่าฆาตกรคนนั้นเป็นใคร ทำไปเพื่อจุดประสงค์อะไร แต่ดูเหมือนทางสวนสนุก จะปิดข่าวไว้เพราะเกรงคนที่มาเที่ยวจะตื่นตระหนก
แต่ในที่สุด ข่าวก็ปิดไม่มิด ทำให้จำนวนคนเที่ยวลดลง ไม่ค่อยมีใครกล้ามาเล่นที่สวนสนุกแฮปปี้แลนด์มากเท่าเมื่อก่อน ในที่สุดก็ต้องปิดตัวลง ถูกรื้อ และกลายเป็นที่รกร้างไป ผ่านไปหลายปี มีคนคิดมาเปิดตลาดขายของที่นี่ และเปลี่ยนจาก สวนสนุกแฮปปี้แลนด์ มาเป็น “ ตลาดสด แฮปปี้แลนด์ “[2] (ปัจจุบันปิดตัวลงเพื่อขายให้แก่พฤกษา เรียลเอสเตทนำไปสร้างคอนโดมิเนียมใกล้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง[3])
เขตบางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนใต้)
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม มีถนนประดิษฐ์มนูธรรม คลองเกรียง คลองอ้ายหลาว คลองลำเจียก และคลองตาหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบึงกุ่มและเขตสะพานสูง มีคลองตาหนัง คลองลำพังพวย ถนนนวมินทร์ ถนนศรีบูรพา คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 2 คลองวังใหญ่บน คลองโคลัด และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ คลองหัวหมาก และคลองกะจะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตห้วยขวางและเขตวังทองหลาง มีคลองแสนแสบ คลองจั่น ถนนลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) คลองลำพังพวย คลองจั่น และคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ มีชื่อเรียกว่า บางกบี่[2] ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม
เมื่อมีผู้คนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งในปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท
ในช่วงปี พ.ศ. 2514–2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง)
เนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง และต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม ในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ได้รวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง
โดยที่มาของชื่อ “บางกะปิ” นั้น มีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า “กบิ” หรือ “กบี่” ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ซึ่งสัญลักษณ์ของเขตก็เป็นรูปหนุมานด้วย)[2] หรือมาจาก “กะปิ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองจั่น | Khlong Chan |
12.062
|
79,048
|
47,720
|
6,553.47
|
หัวหมาก | Hua Mak |
16.461
|
67,793
|
56,514
|
4,118.40
|
ทั้งหมด |
28.523
|
146,841
|
104,234
|
5,148.16
|
โดยมีคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างสองแขวงดังกล่าว
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกะปิ[3] |
---|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- โรงเรียนเทพลีลา
- ราชมังคลากีฬาสถาน
- สนามกีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย
- พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
- มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย)
- วัดจันทวงศาราม (วัดกลาง)
- วัดเทพลีลา
- วัดพระไกรสีห์ (วัดน้อย)
- วัดบึงทองหลาง (พระเถราจารย์และอดีตเจ้าอาวาส พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) ระหว่าง พ.ศ.2447-2501 และ พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2501-2547)
- วัดศรีบุญเรือง
- ตลาดแฮปปี้แลนด์
- สวนพฤษกชาติ การเคหะแห่งชาติ
- โรงพยาบาลรามคำแหง
- โรงเรียนบางกะปิ
- เทคโนโลยีบางกะปิ
- เทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพ
- โรงเรียนบ้านบางกะปิ
- โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
- เดอะมอลล์บางกะปิ
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนลาดพร้าว
- ถนนรามคำแหง
- ถนนพระราม 9
- ถนนนวมินทร์
- ถนนศรีนครินทร์
- ถนนเสรีไทย
- ซอยรามคำแหง 39
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางสายรองและทางลัด
- ถนนแฮปปี้แลนด์
- ถนนกรุงเทพกรีฑา
- ถนนหัวหมาก
- ถนนโพธิ์แก้ว
- ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
- ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี)
- ซอยรามคำแหง 24
- ทางน้ำ
- คลองแสนแสบ
- คลองลาดพร้าว