Category Archives: ถนนมอเตอร์เวย์
ถนนมอเตอร์เวย์
ถนนมอเตอร์เวย์ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 125.865 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก[1] แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 และทางหลวงเอเชียสาย 123 ในปัจจุบัน ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ได้ใช้การเก็บค่าผ่านทางระบบปิด โดยจะมีการเก็บค่าผ่านทางตามจำนวนกิโลเมตรที่ผู้ใช้ทางพิเศษใช้
ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปถึงแค่เพียงเมืองพัทยาเท่านั้น ซึ่งเส้นทางไปยังอำเภอบ้านฉางอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน, ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
เขตประเวศ Khet Prawet is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
เขตประเวศ – วิกิพีเดีย
ติดต่อเรา – สำนักงานเขตประเวศ – กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร – หน้าหลัก | Facebook
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
เขตประเวศ
เขตประเวศ
|
|
---|---|
คำขวัญ: เขตประเวศร่มรื่น ชมชื่นสวนหลวง ร.9 มหาวิทยาลัยเปิดเฉิดเฉลา ประชาชนเรามีคุณธรรม |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′1″N 100°41′40″E | |
อักษรไทย | เขตประเวศ |
อักษรโรมัน | Khet Prawet |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 52.500 ตร.กม. (20.270 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 178,290[1] |
• ความหนาแน่น | 3,396.00 คน/ตร.กม. (8,795.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1032 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 33 หมู่ที่ 8 ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 81 (หมู่บ้านฉัตรนคร) ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/prawet |
เขตประเวศ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์ชุมชนชานเมือง แหล่งงานและการบริการเพื่อรองรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตประเวศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตลาดกระบังและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองแม่จันทร์ คลองตาพุก คลองขันแตก คลองสิงห์โต คลองปากน้ำ และคลองสลุดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) และเขตบางนา มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองต้นตาล คลองปลัดเปรียง คลองหนองตาดำ คลองสาหร่าย และคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางนา เขตพระโขนง และเขตสวนหลวง มีคลองเคล็ด คลองตาสาด (คลองคู้) คลองหนองบอน คลองประเวศบุรีรมย์ ลำรางหลังหมู่บ้านเอื้อสุข และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
เขตประเวศเดิมมีฐานะเป็น ตำบลประเวศ เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครในปี พ.ศ. 2470[2] เมื่อเวลาผ่านไป ท้องที่อำเภอพระโขนงมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2506 ทางราชการจึงได้ตั้งสุขาภิบาลประเวศขึ้นครอบคลุมพื้นที่ตำบลประเวศ ตำบลสวนหลวง ตำบลดอกไม้ ตำบลหนองบอนทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางจากและตำบลบางนา[3] และในปี พ.ศ. 2507 พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ได้ถูกโอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ (ซึ่งขยายเขตออกมาเป็นครั้งที่ 3) เหลือเพียงตำบลประเวศและตำบลดอกไม้ที่ยังคงอยู่ในเขตสุขาภิบาล[4]
ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลประเวศจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงประเวศ เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น รวมทั้งพื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 (ประเวศ) ขึ้นดูแลแขวงประเวศ แขวงหนองบอน แขวงดอกไม้ และแขวงสวนหลวง (ต่อมาแขวงสวนหลวงโอนไปอยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3) และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็น เขตประเวศ[7] แบ่งออกเป็น 4 แขวง ซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วยและคงฐานะเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง[8] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง[9]
ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองของเขตประเวศใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูง (เขตบึงกุ่ม) และหมู่ที่ 7-12 แขวงประเวศ (พื้นที่เขตประเวศทางด้านเหนือของถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) ไปจัดตั้งเป็นเขตสะพานสูง[10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตประเวศมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ประเวศ | Prawet |
22.81
|
86,495
|
35,484
|
3,791.97
|
หนองบอน | Nong Bon |
14.51
|
42,080
|
23,496
|
2,900.06
|
ดอกไม้ | Dokmai |
15.18
|
49,715
|
28,608
|
3,275.03
|
ทั้งหมด |
52.500
|
178,290
|
87,588
|
3,396.00
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตประเวศ[11] |
---|
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
- 4 กันยายน พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ศูนย์การค้า ซีคอนสแควร์ บนเนื้อที่ 77 ไร่ ริมถนนศรีนครินทร์
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
ถนนสายหลัก ได้แก่
ถนนสายรองและทางลัดสำคัญ ได้แก่
|
|
ทางรถไฟ[แก้]
- ทางรถไฟสายตะวันออก (สถานีรถไฟบ้านทับช้าง)
- รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตเรลลิงก์หรือแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีบ้านทับช้าง)
ทางน้ำ[แก้]
เส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ได้แก่
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สวนหลวง ร.9
- สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร
- สวนน้ำบึงหนองบอน
- สวนวนธรรม
- ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่า ปตท.
- วัดกระทุ่มเสือปลา
- มัสยิดญามีลุ้ลอิสลาม บ้านจรเข้ขบ (مسجد جميل الإسلام)
- มัสยิดซะห์รอตุ้ลอิสลาม ดอกไม้
- ศูนย์อบรมจริยธรรมอิสลาม มัสยิดดารุ้ลมุสะสีรรร เกาะกลาง
- มัสยิดเราะห์มาตุ้ลอิสลาม
- มัสยิดอัสสอาดะห์
- มัสยิดอ้ามานาตุ้ลอิสลาม
- มัสยิดยามีอุ้ลอิบาดะห์ (บ้านทางควาย)
- มัสยิดนูรุ้ลอิบาดะห์
- มัสยิดฟื้นฟูมรดกอิสลาม