Category Archives: ตำบลหนองตีนนก
ตำบลหนองตีนนก
ตำบลหนองตีนนก is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ตำบลหนองตีนนก เป็นตำบลหนึ่งใน 17 ตำบลของ อำเภอบ้านโพธิ์
อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบ้านโพธิ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด ตัวอำเภอห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 14 กิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางคล้าและอำเภอแปลงยาว
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอพนัสนิคม อำเภอพานทอง (จังหวัดชลบุรี) และอำเภอบางปะกง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางปะกง และอำเภอบางบ่อ (จังหวัดสมุทรปราการ)
ประวัติ[แก้]
การตั้งชุมชนของคนในสมัยโบราณมักเลือกทำเลอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่ออพยพมาตั้งบ้านเรือนหลายครัวเรือนมากขึ้นก็เกิดเป็นหมู่บ้าน แล้วจึงสร้างวัด หรือศาสนสถานเอาไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถ้าหากจะคะเนว่าชุมชนใดมีอายุเท่าใด หลักฐานที่พอจะเป็นที่เชื่อถือได้ก็คือ วัด หมู่บ้านสนามจันทร์เกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานบ่งบอกได้เลย แต่ถ้าดูจากการสร้างวัดสนามจันทร์ซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2400 บ้านสนามจันทร์มีอายุถึง 150 ปี
ในปี พ.ศ. 2446 ตำบลบ้านโพธิ์ในปัจจุบันมีชื่อว่า ตำบลสนามจันทร์ ดังรายงานการตรวจราชการมณฑลปราจีนของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรื่องการยุบอำเภอหัวไทรไปรวมกับอำเภอบางคล้า และจัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ ความว่า
“ถ้าดูตามลำน้ำที่ว่าการอำเภอหัวไทรกับอำเภอบางคล้าห่างกันทางราว 1 ชั่วโมง เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรจะยกเลิกอำเภอหัวไทรเสีย คงย้ายไปตั้งตำบลสนามจันทร์ ที่จะเรียกนามอำเภอสนามจันทร์ ใต้เมืองฉะเชิงเทรา”
และอีกข้อความหนึ่งในความว่า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีหมู่บ้านมาก ควรแบ่งท้องที่ตั้งเป็นอำเภอขึ้นอีกหนึ่งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอถ้าไปตั้งในคลองประเวศบุรีรมย์ก็ไม่อยู่กึ่งกลางท้องที่ จึงเลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์เป็นที่ตั้งอำเภอ ความกราบบังคมทูลดังนี้
“ราษฎรที่อยู่ทางลำน้ำไปมาลำบากเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรตั้งที่ลำน้ำเมืองฉะเชิงเทรา เหนือปากคลองสนามจันทร์ เพราะเป็นท้องที่มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่โดยรอบ แลเป็นทำเลโจรผู้ร้ายปล้นสะดมชุกชุม ส่วนนามอำเภอเรียกว่าอำเภอสนามจันทร์ เกล้าฯ ได้เลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์ เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ แลจะยกโรงตำรวจภูธรที่อำเภอหัวไทรมาตั้งอยู่ที่อำเภอสนามจันทร์ด้วย”
สรุปได้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลปราจีน เป็นผู้จัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ โดยแยกออกมาจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ใช้ชื่อว่า อำเภอสนามจันทร์ ตามชื่อหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอสนามจันทร์หลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยจาก นายอำเภอคนแรกคือขุนประจำจันทเขตต์
เหตุที่ชื่อบ้านสนามจันทร์ มีประวัติเล่ากันว่า สมัยที่ท้องที่ยังเป็นป่าอยู่ มีเสือชุกชุม มีพระยา 3 ท่าน ออกมาตั้งจั่นดักเสือที่หนองน้ำ ราษฎรเรียกว่า “หนองสามพระยา” และเรียกหมู่บ้านว่า “สนามจั่น” เรียกขานกันนานเข้าจึงเพี้ยนเป็นบ้านสนามจันทร์ ส่วนหนองสามพระยาได้ตื้นเขินเป็นพื้นนา ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านโพธิ์
ระหว่าง พ.ศ. 2447–2449 มีการปรับแก้ไขเขตของหมู่บ้านและตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มาตรา 22 มีแนวทางการกำหนดเขตตำบลดังนี้
“หลายหมู่บ้านรวมกันราว 10 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบล 1 ให้ผู้ว่าราชการเมืองปักหมายเขตรตำบลนั้นให้ทราบได้โดยชัดเจนว่าเพียงใด ถ้าที่หมายเขตรไม่มีลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง หรือ สิ่งใด เป็นสำคัญได้ ก็ให้ผู้ว่าราชการเมืองจัดให้มีหลักปักหมายเขตรอันจะถาวรอยู่ไปได้ยืนนาน”
หมายความว่า การกำหนดเขตตำบลให้ใช้ลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง เป็นแนวเขต ตำบลสนามจันทร์เมื่อก่อนนี้เข้าใจว่ามีพื้นที่อยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ จึงถูกแบ่งเขตออกจากกัน โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นแบ่งเขต พื้นที่ทางฝั่งขวายังคงใช้ชื่อตำบลสนามจันทร์เหมือนเดิม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีเนื้อที่มากกว่า ส่วนทางฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตั้งชื่อใหม่ว่า “ตำบลบ้านโพธิ์” มีหลักฐานคือโฉนดที่ดินที่ออกให้ราษฎรเมื่อ ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบ้านโพธิ์แล้ว เหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านโพธิ์ เนื่องจากถิ่นนี้มีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่ทั่วไป เมื่อก่อนวัดสนามจันทร์ก็มีต้นโพธิ์ใหญ่หลายต้น ชาวบ้านมีความเคารพเพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จึงเอาผ้าเหลืองห่มต้นโพธิ์ ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 และทรงสถาปนาพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นค่ายหลวงสำหรับประชุมและซ้อมรบแบบเสือป่าเพื่อเป็นกำลังร่วมป้องกันประเทศ และเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมอยู่เนือง ๆ ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอไปพ้องกับชื่อพระราชวังสนามจันทร์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเขาดิน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 สมัยขุนเหี้ยมใจหาญ (พงษ์ บุรุษชาติ) เป็นนายอำเภอ
เขาดินอยู่ต่อแดนกับอำเภอบางปะกง เป็นเนินหินแกรนิต สูงประมาณ 15 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดเขาดิน ภายในวัดมีมณฑปร้างเก่าแก่มาก เข้าใจว่าเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เหตุที่เอาเขาดินมาตั้งเป็นชื่ออำเภอแทนสนามจันทร์ คงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสวัดเขาดิน เมื่อปี พ.ศ. 2402 ซึ่งถือเป็นความปีติและเป็นสิริมงคล จึงเอาชื่อเขาดินมาเป็นชื่ออำเภอ
ต่อมาปรากฏว่าเขาดินไปอยู่ในเขตอำเภอบางปะกง จึงเปลี่ยนชื่ออำเภออีกครั้งหนึ่งจากเขาดินมาเป็น อำเภอบ้านโพธิ์ ตามชื่อของตำบลที่ตั้งอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2460 (ตามรายงานกิจการจังหวัดประจำปี 2401-2502) สมัยขุนเจนประจำกิจ (ชื้น) เป็นนายอำเภอ
อาคารที่ว่าการอำเภอหลังแรกหลังคามุงจาก หลังต่อมาปลูกสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง หันหน้าสู่แม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ หลังที่ 3 ขยับเข้ามาสร้างริมถนนเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น แบบสมัยใหม่ ปัจจุบันได้รื้อหลังเก่า และก่อสร้างหลังใหม่ในที่เดิม ซึ่งจะทำการเปิดที่ว่าการหลังใหม่ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547 พร้อมทั้งเฉลิมฉลองในวาระที่อำเภอมีอายุครบ 100 ปีด้วย
ตั้งแต่ตั้งอำเภอมา มีนายอำเภอปกครองรวม 41 คน โจรผู้ร้ายที่ว่าชุมชุมก็หมดไป ชาวอำเภอบ้านโพธิ์มีความเป็นอยู่สงบสุข เรียบง่าย แม้ในปัจจุบันการทำมาหากินเปลี่ยนไปจากเดิม สภาพสังคมเปลี่ยนไป แต่มีสิ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ ความสำนึกรักบ้านเกิดและความกตัญญูต่อแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้บ้านโพธิ์มีความยั่งยืนตลอดไป
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบ้านโพธิ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 ตำบล 73 หมู่บ้าน
1. | บ้านโพธิ์ | (Ban Pho) | 10. | หนองบัว | (Nong Bua) | ||||||||
2. | เกาะไร่ | (Ko Rai) | 11. | บางซ่อน | (Bang Son) | ||||||||
3. | คลองขุด | (Khlong Khut) | 12. | บางกรูด | (Bang Krut) | ||||||||
4. | คลองบ้านโพธิ์ | (Khlong Ban Pho) | 13. | แหลมประดู่ | (Laem Pradu) | ||||||||
5. | คลองประเวศ | (Khlong Prawet) | 14. | ลาดขวาง | (Lat Khwang) | ||||||||
6. | ดอนทราย | (Don Sai) | 15. | สนามจันทร์ | (Sanam Chan) | ||||||||
7. | เทพราช | (Theppharat) | 16. | แสนภูดาษ | (Saen Phu Dat) | ||||||||
8. | ท่าพลับ | (Tha Phlap) | 17. | สิบเอ็ดศอก | (Sip Et Sok) | ||||||||
9. | หนองตีนนก | (Nong Tin Nok) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบ้านโพธิ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเทพราช ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะไร่และบางส่วนของตำบลเทพราช
- เทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลลาดขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดขวางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแสนภูดาษ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสนภูดาษทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะไร่ (นอกเขตเทศบาลตำบลเทพราช)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขุดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองบ้านโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองบ้านโพธิ์และตำบลบางซ่อนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองประเวศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองประเวศทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนทรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพราช (นอกเขตเทศบาลตำบลเทพราช)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตีนนกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพลับและตำบลหนองบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกรูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกรูดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมประดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมประดู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนามจันทร์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสิบเอ็ดศอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิบเอ็ดศอกทั้งตำบล