Category Archives: ตำบลบางกอบัว
ตำบลบางกอบัว
ตำบลบางกอบัว is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
ตำบลบางกอบัว เป็นตำบลๆหนึ่งอยู่ใน อำเภอพระประแดง
อำเภอพระประแดง
|
|
---|---|
คำขวัญ: ป้อมแผลงไฟฟ้า ราชานุสาวรีย์ ประเพณีสงกรานต์ หมู่บ้านชาวมอญ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ งามตระการวัดหลวง มะม่วงน้ำดอกไม้ ติดใจข้าวเม่าทอด สุดยอดกะละแม | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°39′30″N 100°32′2″E | |
อักษรไทย | อำเภอพระประแดง |
อักษรโรมัน | Amphoe Phra Pradaeng |
จังหวัด | สมุทรปราการ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 73.370 ตร.กม. (28.328 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 193,580 |
• ความหนาแน่น | 2,638.40 คน/ตร.กม. (6,833.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1104 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอพระประแดง ถนนนครเขื่อนขันธ์ ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130 |
พระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน
เนื้อหา
ที่มาของชื่อ[แก้]
คำว่า “พระประแดง” บ้างว่ามาจากคำว่า “ประแดง” หรือ “บาแดง” แปลว่า คนเดินหมายหรือ คนนำข่าวสาร แต่เดิมเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (ละโว้) ทราบโดยเร็ว[1]
ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายว่า “พระประแดง” มาจากชื่อ “พระแผดง” ซึ่งเป็นชื่อเทวรูปสำคัญที่ขุดพบสององค์ที่คลองสำโรงต่อคลองทับนางเมื่อปี พ.ศ. 2061 ซึ่งคำว่า “แผดง” มาจากคำเขมรว่า “เผฺดง” ที่ใช้เรียกเทวรูปหรือตำแหน่งยศขุนนาง โดยเชื่อว่าชื่อเมืองน่าจะเรียกตามศาลพระแผดงที่พวกขอมเคยสร้างไว้[2]
ส่วนรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล สันนิษฐานว่า “พระประแดง” มาจากคำว่า “กมรเตง” ที่หมายถึงเทวรูปศักดิ์สิทธิ์สององค์ดังกล่าว[3]
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอพระประแดง เป็นเมืองโบราณสมัยขอมมีชื่อเรียกว่า “พระประแดง” เดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านซ้ายคืออยู่ทางฝั่งตะวันออก เดิมเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล สมัยนั้นเรียกว่า “ปากน้ำพระประแดง” โดยตำแหน่งที่ตั้งเมืองพระประแดงเดิมช่วงศตวรรษที่ 23 นั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร[3] ส่วนเมืองนครเขื่อนขันธ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดงเดิมแต่อย่างใด ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองพระประแดง[3]
ตรงนี้เป็นประวัติศาสตร์รายปี
- พ.ศ. 2464 ตั้งจังหวัดพระประแดง
- พ.ศ. 2475 ยุบจังหวัดพระประแดง ทำให้อำเภอพระประแดง ขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ
- วันที่ 15 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงใหม่ ตำบลทรงคนอง และตำบลตลาด (ในปัจจุบันรวมกันเป็นตำบลตลาด)[4]
- วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ยุบลงเนื่องจากขณะนั้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอพระประแดง จึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอพระประแดง กลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ เหมือนเดิม[5]
- วันที่ 20 กันยายน 2505 ตั้งตำบลบางกระสอบ แยกออกจากตำบลบางน้ำผึ้ง[6]
- วันที่ 22 สิงหาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลพระประแดง ในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ ตำบลบางจาก ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ และตำบลสำโรงใต้[7]
- วันที่ 6 พฤศจิกายน 2531 ตั้งตำบลสำโรง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้[8]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลสำโรงกลาง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้ [9]
- วันที่ 13 มีนาคม 2535 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพระประแดง ใหม่ โดยให้ สุขาภิบาลพระประแดง ครอบคลุมในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ และตำบลบางจาก และ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงใต้ ในท้องที่ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรงกลาง และตำบลสำโรง[10]
- วันที่ 24 เมษายน 2537 จัดตั้งเทศบาลตำบลลัดหลวง โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลพระประแดง[11]
- วันที่ 16 มีนาคม 2540 จัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงใต้ โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลสำโรงใต้ [12]
- วันที่ 21 กันยายน 2545 จัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง โดย ยกฐานะจากเทศบาลตำบลลัดหลวง[13]
- วันที่ 20 สิงหาคม 2552 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองสำโรงใต้ [14]
- วันที่ 17 กันยายน 2553 เปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย [15]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตพระโขนง และเขตบางนา (กรุงเทพมหานคร) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีถนนทางรถไฟเก่า (สายปากน้ำ) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ คลองขุด คลองบางฝ้าย กึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองท่าเกวียน และคลองบางจาก เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและเขตราษฎร์บูรณะ (กรุงเทพมหานคร) คลองรางใหญ่ คลองขุดเจ้าเมือง ลำรางสาธารณะ คลองบางพึ่ง คลองแจงร้อน เป็นเส้นแบ่งเขต
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอพระประแดงแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 15 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 67 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ตลาด | (Talat) | 9. | บางกะเจ้า | (Bang Kachao) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
2. | บางพึ่ง | (Bang Phueng) | 10. | บางน้ำผึ้ง | (Bang Namphueng) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
3. | บางจาก | (Bang Chak) | 11. | บางกระสอบ | (Bang Krasop) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บางครุ | (Bang Khru) | 12. | บางกอบัว | (Bang Ko Bua) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
5. | บางหญ้าแพรก | (Bang Ya Phraek) | 13. | ทรงคนอง | (Song Khanong) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
6. | บางหัวเสือ | (Bang Hua Suea) | 14. | สำโรง | (Samrong) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
7. | สำโรงใต้ | (Samrong Tai) | 15. | สำโรงกลาง | (Samrong Klang) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
8. | บางยอ | (Bang Yo) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอพระประแดงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองพระประแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรง และตำบลสำโรงกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางยอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะเจ้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระสอบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกอบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกอบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรงคนองทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
อำเภอพระประแดงมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนนครเขื่อนขันธ์
- ถนนพระราชวิริยาภรณ์
- ถนนเพชรหึงษ์
- ถนนปู่เจ้าสมิงพราย
- ถนนทางรถไฟเก่า (สายปากน้ำ)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้)
นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง
- สะพานภูมิพล (วงแหวนอุตสาหกรรม)
- สะพานกาญจนาภิเษก
สำหรับการคมนาคมในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แพขนานยนต์ และ เรือโดยสารข้ามฟาก ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เภตรา และ บริษัท นาวาสมุทร จำกัด เรือโดยสารข้ามฟาก และ เรือหางยาวบริเวณวัดบางน้ำผึ้งนอก (ฝั่งตรงข้ามกับวัดบางนานอก เขตบางนา กรุงเทพมหานคร) เรือหางยาวบริเวณปลายถนนเพชรหึงษ์ (ฝั่งตรงข้ามกับท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- ป้อมแผลงไฟฟ้า
- ตลาดบางน้ำผึ้ง
- สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ (สวนบางกระเจ้า)
ประเพณี[แก้]
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ[แก้]
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ กำเนิดขึ้นใน จ.สมุทรปราการ ชาวพระประแดง (มอญปาก-ลัด) ปกติมักมีขึ้นในช่วงเวลา วันที่ 13 เมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์ ความเป็นมาหรือสาระสำคัญของประเพณีไทยแห่หงส์ ธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการระลึกถึง และเป็นการบูชา รวมไปถึงการเฉลิมฉลองให้กับครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงจากชั้นภพดาวดึงส์ เป็นการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนปัจจุบันนี้ โดยการร่วมงานเฉลิมฉลองประเพณีไทยนี้ ผู้คนต่าง ๆ มักจะนำเสาหงส์ และ ธงตะขาบ มาใช้คู่กัน
สถานศึกษา[แก้]
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6[แก้]
- โรงเรียนสุขสวัสดิ์
- โรงเรียนฉัตรทิพย์เทพวิทยา
- โรงเรียนบางครุ
- โรงเรียนบ้านบางจาก
- โรงเรียนพลอยจาตุรจินดา
- โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนวัดกลาง
- โรงเรียนวัดกองแก้ว
- โรงเรียนวัดครุนอก
- โรงเรียนวัดครุใน
- โรงเรียนวัดคันลัด
- โรงเรียนวัดชมนิมิตร
- โรงเรียนวัดทรงธรรม
- โรงเรียนวัดท้องคุ้ง
- โรงเรียนวัดบางกระสอบ
- โรงเรียนวัดบางกอบัว
- โรงเรียนวัดบางกะเจ้ากลาง
- โรงเรียนวัดบางขมิ้น
- โรงเรียนวัดบางน้ำผึ้งนอก
- โรงเรียนวัดบางน้ำผึ้งใน
- โรงเรียนวัดบางฝ้าย
- โรงเรียนวัดบางหญ้าแพรก
- โรงเรียนวัดบางหัวเสือ
- โรงเรียนวัดปุณหังสนาวาส
- โรงเรียนวัดป่าเกด (ดิษวิทยาคาร)
- โรงเรียนวัดมหาวงษ์
- โรงเรียนวัดรวก
- โรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์
- โรงเรียนวัดสวนส้ม
- โรงเรียนวัดสำโรงเหนือ
- โรงเรียนวัดแหลม
- โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์
- โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี
- โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ
สถานศึกษาระบบเอกชน[แก้]
- โรงเรียนกาญจนวิทยา
- โรงเรียนณัฎฐเวศม์
- โรงเรียนประชานาถ (เซนต์แมรี่ st-mary)
- โรงเรียนปัญจนะวิทย์
- โรงเรียนป้อมปู่เจ้าสมิงพราย
- โรงเรียนศิริวิทยา
- โรงเรียนสันติดรุณ
- โรงเรียนสายอนุสรณ์
- โรงเรียนสำราญวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลบัวขาว
- โรงเรียนอนุบาลบ้านพุทธรักษา
- โรงเรียนอนุบาลมารดา
- โรงเรียนอนุบาลศิริวิทย์
- โรงเรียนอนุบาลสดุดี
- โรงเรียนอนุบาลเจริญวัย
- โรงเรียนอนุบาลเซ็นดาณี
- โรงเรียนอาษาวิทยา
- โรงเรียนอำนวยวิทย์
- โรงเรียนเยาวนารีคริสเตียน
บุคคลที่มีชื่อเสียงของเมืองพระประแดง[แก้]
- นายแช่ม พรหมยงค์ อดีตจุฬาราชมนตรีคนแรกของเมืองพระประแดง
- พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ และอดีตผู้ก่อตั้งพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา
- พระครูสังฆวุฒาจารย์ (เย่อ โฆสโกมหาเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอาษาสงคราม พระอารามหลวง
- พระครูสมุทรวราภรณ์ (พระมหาวารี จนฺทปุตฺโต) อดีตรองเจ้าคณะอำเภอพระประแดง, อดีตเจ้าคณะตำบลตลาด, อดีตรักษาการเจ้าคณะตำบลบางกะเจ้า, อดีตเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์อำเภอพระประแดง และอดีตรองเจ้าอาวาสวัดทรงธรรมวรวิหาร
- อาจารย์คล้าย พงษ์เวช ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวัดทรงธรรม, โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี และโรงเรียนอำนวยวิทย์
- อาจารย์จินดา เตชะเสน อดีตผู้ทรงคุณวุฒิแห่งเมืองพระประแดง
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี อดีตนายกสมาคมไทย-รามัญ
- อาจารย์ฉวีวรรณ ควรแสวง ประธานสภาวัฒนธรรมเมืองพระประแดง และผู้บริหารโรงเรียนอำนวยวิทย์
- นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตองคมนตรี, อดีตประธานศาลฎีกา, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตผู้พิพากษาอาวุโส
- นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ผู้สร้างยอดมนุษย์อุลตร้าแมน และผู้กำกับภาพยนตร์
- นายชนาวีร์ ชีววัฒนรัตน์ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองพระประแดง
- นายเอกไชย สนธิขันธ์ อดีตนักฟุตบอลอาชีพคนแรกของประเทศไทย
- นายยรรยง โอฬาระชิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2550
- นายประชา ประสพดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดสมุทรปราการ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสนิท กุลเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชากรไทย จังหวัดสมุทรปราการ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรปราการ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ “ภาคผนวก ตามหาเมืองพระประแดงในพงศาวดาร”. 3king.lib.kmutt.ac.th/. สืบค้นเมื่อ 5 December 2014.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ชนนิยม, 2556, หน้า 414-415
- ↑ กระโดดขึ้นไป:3.0 3.1 3.2 รุ่งโรจน์ อภิรมย์อนุกูล (2556). “เมืองพระประแดง: จากคลองเตย มานครเขื่อนขันธ์จบที่อำเภอพระประแดง”. ดำรงวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2557.
- ↑ “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2480” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 1878–1881. 14 มีนาคม 2480.
- ↑ “พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2080–2084. 2 ตุลาคม 2505.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (90 ง): 2099–2101. 10 กันยายน 2506.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (พิเศษ 234 ง): 65–68. 27 ธันวาคม 2531.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (พิเศษ 174 ง): 17–24. 16 กันยายน 2533.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพระประแดงและจัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 126 ง): 85–88. 30 กันยายน 2535.
- ↑ “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2537” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (10 ก): 62–65. 25 มีนาคม 2537.
- ↑ “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2540” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (2 ก): 1–4. 14 กุมภาพันธ์ 2540.
- ↑ “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง พ.ศ. 2545” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (93 ก): 4–6. 20 กันยายน 2545.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองสำโรงใต้” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (พิเศษ 145 ง): 21. 1 ตุลาคม 2552.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (พิเศษ 128 ง): 27. 5 พฤศจิกายน 2553.
|
เขตราษฎร์บูรณะ | เขตยานนาวาและเขตคลองเตย แม่น้ำเจ้าพระยา |
เขตพระโขนง แม่น้ำเจ้าพระยา |
|
เขตทุ่งครุ | เขตบางนา แม่น้ำเจ้าพระยา |
|||
|
||||
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ | อำเภอเมืองสมุทรปราการ |
|