Category Archives: ตำบลหนองปลาไหล
ตำบลหนองปลาไหล
ตำบลหนองปลาไหล is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
ตำบลหนองปลาไหล เป็นตำบลๆหนึ่งอยู่ใน 11 ตำบล อำเภอเมืองสระบุรี
อำเภอเมืองสระบุรี
|
|
---|---|
คำขวัญ: พระพุทธฉายสูงค่า ครกหินชั้นดี ถิ่นคนดีมีน้ำใจ ล้ำสมัยเมืองชุมทาง |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°31′38″N 100°54′35″E | |
อักษรไทย | อำเภอเมืองสระบุรี |
อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Saraburi |
จังหวัด | สระบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 301.6 ตร.กม. (116.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 118,851 |
• ความหนาแน่น | 394.06 คน/ตร.กม. (1,020.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 18000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1901 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอเมืองสระบุรี ถนนเทศบาล 3 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000 |
เมืองสระบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
อำเภอนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลปากเพรียวริมแม่น้ำป่าสักที่คลองแยกออกมา คลองนี้มีลักษณะปากคลองกว้าง และเรียวไปตลอดทางคดไปคดมา คลองนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองเพรียว” ตำบลที่ตั้งอยู่ในปากคลองนี้จึงเรียกว่า “ตำบลปากคลองเพรียว” แต่เมื่อเรียกกันมากๆ เข้าคำว่าคลองจึงตกหายไป จึงเรียกว่า “ปากเพรียว” ซึ่งมาจากคำว่า “ปากคลองเพรียว” นั่นเอง
อำเภอเมืองสระบุรีตั้งอยู่ในตำบลนี้ขึ้นต่อจังหวัดสระบุรี ซึ่งที่ตั้งศาลากลางจังหวัด อยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ครั้นต่อมาทางราชการเห็นว่าชื่ออำเภอที่มีชื่อว่า อำเภอเมืองสระบุรีนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลปากเพรียว และอยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ จึงได้เปลี่ยนชื่อของอำเภอ เป็นอำเภอปากเพรียว ครั้นต่อมาได้มีการสร้างทางรถไฟจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรี (สมัยนั้น) ไปยังจังหวัดนครราชสีมา ได้ผ่านตำบลปากเพรียว การคมนาคมทางบกจึงสะดวกขึ้น ความเจริญของตำบลปากเพรียวจึงได้เจริญขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระบรมราชโองการ ให้ย้ายตัวที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสระบุรี จากตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ มาตั้งอยู่ที่ตำบลปากเพรียว เป็นอำเภอเมืองสระบุรีตามเดิม เพื่อให้สมกับเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด จึงได้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันนี้[1]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี เป็นเทศบาลเมืองสระบุรี[2]
- วันที่ 7 มีนาคม 2480 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสระบุรี ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล[3]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านเขาตะกร้า (ในขณะนั้น) ของตำบลปากข้าวสาร มาขึ้นกับตำบลปากเพรียว[4]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโคกสว่าง แยกออกจากตำบลหนองโน ตำบลนาโฉง[5]
- วันที่ 16 ตุลาคม 2494 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี (1,2,3)[6]
- (1) โอนพื้นที่หมู่ 1 ทั้งหมู่ และหมู่ 2 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลดาวเรือง ซึ่งถูกตัดเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปขึ้นกับตำบลปากเพรียว และโอนพื้นที่หมู่ 2 บางส่วน ที่เหลือจากการถูกตัดโอนเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปรวมกับหมู่ 9 ตำบลดาวเรือง และยุบพื้นที่หมู่ที่ 1 และ 2 ของตำบลดาวเรือง
- (2) โอนพื้นที่หมู่ที่ 2 บางส่วน และหมู่ 4 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลนาโฉง ซึ่งถูกตัดเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปขึ้นกับตำบลปากเพรียว และโอนพื้นที่หมู่ 2 บางส่วน และหมู่ 4 บางส่วน ที่เหลือจากการถูกตัดโอนเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปรวมกับหมู่ 3 ตำบลนาโฉง และยุบพื้นที่หมู่ที่ 2 และ 4 ของตำบลนาโฉง
- (3) โอนพื้นที่หมู่ที่ 1 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลผึ้งรวง ซึ่งถูกตัดเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปขึ้นกับตำบลปากเพรียว และโอนพื้นที่หมู่ 1 บางส่วน ที่เหลือจากการถูกตัดโอนเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปรวมกับหมู่ 2 ตำบลผึ้งรวง และยุบพื้นที่หมู่ที่ 1 ของตำบลผึ้งรวง
- วันที่ 26 มิถุนายน 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลหน้าพระลาน ในท้องที่บางส่วนของตำบลพุแค[7]
- วันที่ 8 กันยายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองโน[8]
- วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลหน้าพระลาน แยกออกจากตำบลพุแค[9]
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2517 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสระบุรี เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการ และการทะนุบำรุงท้องถิ่น[10]
- วันที่ 13 มีนาคม 2522 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหน้าพระลาน เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการ และการทะนุบำรุงท้องถิ่น[11]
- วันที่ 2 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลเขาดินพัฒนา แยกออกจากตำบลห้วยบง[12]
- วันที่ 27 กันยายน 2526 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลกุดนกเปล้า ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลปากข้าวสาร[13]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลเขาดินพัฒนา ตำบลบ้านแก้ง ตำบลผึ้งรวง ตำบลพุแค ตำบลห้วยบง และตำบลหน้าพระลานอำเภอเมืองสระบุรี มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[14] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก เป็นเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเมืองสระบุรีตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแก่งคอย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวิหารแดงและอำเภอหนองแค
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองแซงและอำเภอเสาไห้
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเมืองสระบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 77 หมู่บ้าน
1. | ปากเพรียว | (Pak Phriao) | – | 7. | ปากข้าวสาร | (Pak Khao San) | 4 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | ดาวเรือง | (Dao Rueang) | 8 หมู่บ้าน | 8. | หนองปลาไหล | (Nong Pla Lai) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | นาโฉง | (Na Chong) | 3 หมู่บ้าน | 9. | กุดนกเปล้า | (Kut Nok Plao) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | โคกสว่าง | (Khok Sawang) | 12 หมู่บ้าน | 10. | ตลิ่งชัน | (Taling Chan) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | หนองโน | (Nong No) | 10 หมู่บ้าน | 11. | ตะกุด | (Takut) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | หนองยาว | (Nong Yao) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเมืองสระบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองสระบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากเพรียวทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองโน
- เทศบาลตำบลกุดนกเปล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดนกเปล้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตะกุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกุดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดาวเรือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดาวเรืองและตำบลนาโฉงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสว่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากข้าวสารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาไหลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันทั้งตำบล
อ้างอิง[แก้]
- ↑ [1]ประวัติอำเภอเมืองสระบุรี
- ↑ [2]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘
- ↑ [3]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๐
- ↑ [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอหนองโดน อำเภอสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี
- ↑ [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอบ้านหมอ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอแก่งคอย และอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
- ↑ [10]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๗
- ↑ [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหน้าพระลาน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [14]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๓๙
|