Category Archives: อำเภอเสาไห้
อำเภอเสาไห้
อำเภอเสาไห้ is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
อำเภอเสาไห้ เป็นตำบลๆหนึ่งอยู่ใน 12 ตำบล อำเภอเสาไห้
อำเภอเสาไห้
|
|
---|---|
คำขวัญ: เสาตะเคียนคู่บ้าน ถิ่นข้าวสารพันธุ์ดี ผ้าทอหลากสี ประเพณีเรือยาว |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°33′1″N 100°51′27″E | |
อักษรไทย | อำเภอเสาไห้ |
อักษรโรมัน | Amphoe Sao Hai |
จังหวัด | สระบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 118 ตร.กม. (46 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 33,944 |
• ความหนาแน่น | 287.66 คน/ตร.กม. (745.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 18160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1910 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอเสาไห้ เลขที่ 5 หมู่ที่ 5 ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 18160 |
เสาไห้ เป็นอำเภอในจังหวัดสระบุรีที่อยู่ใกล้อำเภอเมืองสระบุรีมากที่สุด (ประมาณ 7 กิโลเมตร) เลื่องชื่อในด้านประเพณีการแข่งเรือยาว ผ้าทอ และข้าวสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2437 โดยแต่เดิมเป็นตัวเมืองสระบุรีมาก่อน (ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองเก่า) มีตำนานเล่าว่าชื่ออำเภอนี้ได้มาจากตำนานแม่นางตะเคียนเสาร้องไห้ซึ่งเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเสาไห้ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสูง
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเสาไห้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพระพุทธบาทและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอเมืองสระบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสระบุรีและอำเภอหนองแซง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่าเรือ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) อำเภอบ้านหมอ และอำเภอพระพุทธบาท
ตำนานชื่ออำเภอ[แก้]
ชื่ออำเภอเสาไห้เป็นการกร่อนคำมาจากคำว่า “เสาร้องไห้” เป็นตำนานเรื่องเล่าของเสาไม้ตะเคียนทองซึ่งมีขนาดความยาว 13 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75 เมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ต้นหนึ่งที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นเสาเอกในการสร้างปราสาทราชวังที่ประทับเชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ ในต้นรัชกาลกรุงรัตนโกสินทร์ นางตะเคียนที่สิงสถิตอยู่เสียใจมาก ตกกลางคืนจึงแสดงอภินิหารลอยทวนน้ำขึ้นมา ขณะลอยมานั้นชาวบ้านริมน้ำได้ยินเสียงร้องไห้ และเสาดังกล่าวได้มาจมลงในบริเวณคุ้งน้ำป่าสัก ห่างจากที่ว่าการอำเภอเสาไห้ปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 50 เมตร บริเวณนั้นจึงถูกเรียกว่า “สาวร้องไห้” ต่อมาเหลือเพียงคำว่า “เสาไห้”
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเสาไห้แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 103 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | เสาไห้ | (Sao Hai) | 7 หมู่บ้าน | 7. | ท่าช้าง | (Tha Chang) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
2. | บ้านยาง | (Ban Yang) | 15 หมู่บ้าน | 8. | พระยาทด | (Phraya Thot) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
3. | หัวปลวก | (Hua Pluak) | 12 หมู่บ้าน | 9. | ม่วงงาม | (Muang Ngam) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
4. | งิ้วงาม | (Ngio Ngam) | 6 หมู่บ้าน | 10. | เริงราง | (Roeng Rang) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
5. | ศาลารีไทย | (Sala Ri Thai) | 5 หมู่บ้าน | 11. | เมืองเก่า | (Mueang Kao) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
6. | ต้นตาล | (Ton Tan) | 8 หมู่บ้าน | 12. | สวนดอกไม้ | (Suan Dok Mai) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเสาไห้ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเสาไห้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาไห้ทั้งตำบล[1][2]
- เทศบาลตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านยาง[3]
- เทศบาลตำบลสวนดอกไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนดอกไม้ทั้งตำบล[4][5]
- เทศบาลตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเก่าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลต้นตาล-พระยาทด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นตาลและตำบลพระยาทดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหัวปลวก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวปลวกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านยาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลช้างไทยงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วงาม ตำบลศาลารีไทย และตำบลท่าช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงงามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเริงราง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเริงรางทั้งตำบล
ตำบลที่สำคัญ[แก้]
- ตำบลเสาไห้ เป็นตำบลที่เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และวัดสูงที่เป็นที่ประดิษฐานของเสาร้องไห้
- ตำบลบ้านยาง เป็นตำบลที่มีชื่อทางด้านการทำกระยาสารท
- ตำบลต้นตาล เป็นตำบลที่มีชื่อในด้านการทำผ้าทอ ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มทอผ้าสตรีตำบลต้นตาล ณ วัดต้นตาล และมีวัดเขาแก้วราชวรมหาวิหารซึ่งเป็นวัดสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และตรงข้ามวัดจะมีศูนย์วัฒนธรรมประจำตำบลต้นตาล ซึ่งมีลักษณะเป็นบ้านทรงไทยติดริมแม่น้ำ เป็นที่ถ่ายทำละครมาแล้วหลายเรื่อง อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านของชาวไทยวนด้วย ตำบลนี้มีคำขวัญประจำตำบลว่า “ถิ่นพื้นบ้านไทยวน ผ้าทอล้วนหลากสี ดวงมณีวัดเขาแก้ว ตั้งติดแนวป่าสัก อนุรักษ์วัฒนธรรม”
- ตำบลท่าช้าง เป็นตำบลที่มีร้านก๋วยเตี๋ยวจ๊างนัก (ก๋วยเตี๋ยวท่าช้าง) ที่เป็นที่รู้จักของชาวสระบุรี
- ตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลที่เคยเป็นที่ตั้งของตัวเมืองสระบุรีมาก่อน
|
- ↑ [1] ๑๕ ตุลาคม ๒๔๙๙ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
- ↑ [2] ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลเสาไห้ รวมกับ เทศบาลตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
- ↑ [3] ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๖ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
- ↑ [4] ๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
- ↑ [5] ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลสวนดอกไม้ รวมกับ เทศบาลตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี