Category Archives: ถนนนิมิตใหม่
ถนนนิมิตใหม่
ถนนนิมิตใหม่ is a position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
ถนนนิมิตใหม่ (อักษรโรมัน: Thanon Nimit Mai) เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ลักษณะ[แก้]
ถนนนิมิตใหม่มีความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร มีเส้นทางแยกจากถนนสุวินทวงศ์ในแขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนประชาร่วมใจ โดยช่วงตั้งแต่ปากซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถึงปากซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตคลองสามวา เมื่อเลยไปจึงเข้าสู่ท้องที่แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา จากนั้นข้ามคลองหนึ่ง เมื่อเลยปากซอยนิมิตใหม่ 19 (วัดบัวแก้ว) แล้วจึงตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนวัดสุขใจ (เข้าวัดสุขใจแยกถนนนิมิตใหม่) และถนนหทัยมิตร (หทัยมิตรเชื่อมถนนนิมิตใหม่หทัยราษฎร์) จากนั้นข้ามคลองสองเข้าสู่แขวงสามวาตะวันออก ข้ามคลองสาม เมื่อเลยซอยกาเซ็มจึงโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองสี่ จากนั้นตัดกับถนนราษฎร์นิมิตร (นิมิตใหม่-หทัยราษฎร์) ซอยนิมิตใหม่ 64 (ทางเข้าโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2) และถนนไมตรีจิต (เข้าวัดศรีสุขแยกถนนนิมิตใหม่) เมื่อเลยปากซอยนิมิตใหม่ 66 (วัดลำกะดาน) จึงเข้าสู่เขตตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมุ่งไปทางทิศเหนือ จากนั้นข้ามคลองหกวา (สายล่าง) ไปบรรจบกับถนนลำลูกกา ใกล้กับตลาดใหญ่ลำลูกกา ตลอดแนวของถนนนิมิตใหม่ฟากตะวันออกนั้นมีแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้พื้นถนนตั้งแต่เขตมีนบุรีไปจนถึงอำเภอลำลูกกา โดยช่วงตั้งแต่ทางแยกตลาดลำลูกกาจนถึงเขตจังหวัดปทุมธานีกับกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3592
ประวัติ[แก้]
ถนนสายนี้ตัดขึ้นโดยสำนักการโยธาเป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อแล้วเสร็จ ทางสำนักงานเขตมีนบุรีได้ยึดถือตามประกาศกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ที่ระบุให้ใช้ชื่อถนนว่า ถนนนิมิตรใหม่ ภายหลังสถานีตำรวจซึ่งตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2537 เพื่อดูแลท้องที่แขวงสามวาตะวันออกและบางส่วนของแขวงสามวาตะวันตกและแขวงทรายกองดินใต้ (ซึ่งเป็นบริเวณที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน) จึงใช้ชื่อว่านิมิตรใหม่ด้วยและสะกดตามแบบที่กรุงเทพมหานครใช้
ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2539–2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตเดิมและจัดตั้งเขตใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้ระยะทางส่วนใหญ่ของถนนรวมถึงที่ตั้งของสถานีตำรวจไปอยู่ในพื้นที่เขตคลองสามวา ซึ่งทางเขตได้สะกดชื่อถนนและซอยย่อยว่า “นิมิตใหม่” โดยไม่มี ร เรือ สะกด แตกต่างจากเขตมีนบุรีซึ่งยังคงใช้ ร เรือ อยู่ ป้ายชื่อซอยจึงเขียนว่า “นิมิตรใหม่” การสะกดชื่อไม่เหมือนกันทำให้ประชาชนและหน่วยงานราชการต่าง ๆ เกิดความสับสน เนื่องจากไม่แน่ใจว่าเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง หน่วยงานของกรุงเทพมหานครหลายแห่งได้ถูกสอบถามเพื่อขอความกระจ่างเป็นจำนวนมาก
คณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร จึงจัดการประชุมขึ้น ประกอบด้วยผู้อำนวยการกองธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนจากราชบัณฑิตยสถาน รวมทั้งตัวแทนจากกรมศิลปากร สำนักงานเขตที่เกี่ยวข้อง และกองปกครองและทะเบียน ร่วมกันพิจารณาเรื่องชื่อถนนนิมิตรใหม่ ทางราชบัณฑิตยสถานได้ให้เหตุผลว่า การสะกดชื่อถนนสายนี้ตามหลักภาษาไทยควรใช้คำว่า “นิมิตใหม่” จึงจะถูกต้อง โดยอธิบายว่า คำว่า “นิมิต” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มีความหมายว่า สร้าง แปลง ทำ เมื่อรวมกับคำว่า “ใหม่” จึงน่าจะมีความหมายว่า สร้างหรือแปลงขึ้นมาใหม่ หากใช้แบบมี ร เรือ จะกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมาย
ดังนั้น สำนักงานเขตมีนบุรีจึงต้องไปเปลี่ยนป้ายชื่อถนน ป้ายชื่อซอยบริเวณต้นถนนรวม 8 ป้าย ได้แก่ ซอยนิมิตรใหม่ 1 ซอยนิมิตรใหม่ 3 ซอยนิมิตรใหม่ 3/1 ซอยนิมิตรใหม่ 3/2 ซอยนิมิตรใหม่ 2 ซอยนิมิตรใหม่ 4 ซอยนิมิตรใหม่ 6 และซอยนิมิตรใหม่ 6/1 รวมทั้งป้ายซอยย่อยต่าง ๆ อีก 15 ป้าย และต้องทยอยแก้ไขฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรในบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน 2,000 หลัง เป็น นิมิตใหม่ ตามการสะกดชื่อแบบใหม่ทั้งหมด ขณะที่ในเขตคลองสามวาไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากเขียนป้ายชื่อถนนและซอยโดยไม่ใช้ ร เรือ มาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ทางสำนักงานเขตได้ประสานแจ้งมติการเปลี่ยนชื่อถนนสายดังกล่าวไปยังสถานีตำรวจนครบาลนิมิตรใหม่ด้วย ส่วนในอำเภอลำลูกกาซึ่งเป็นพื้นที่ปลายทางของถนนนั้น กรุงเทพมหานครก็ได้แจ้งไปยังเทศบาลตำบลลำลูกกาเพื่อจะได้แก้ไขป้ายชื่อถนนเสียใหม่เช่นกัน
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
- วัดลำกะดาน
เขตคลองสามวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันเขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากเขตสายไหม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตมีนบุรี มีคลองแสนแสบ คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองคู้บอน คลองคู้ชุมเห็ด และคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
บริเวณเขตคลองสามวาในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกท้องที่บริเวณทุ่งแสนแสบทางทิศตะวันออกของพระนครขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า “เมืองมีนบุรี“[3][4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) ใหม่แห่งนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2474 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ทางการจึงได้ยุบจังหวัดมีนบุรีเข้ากับจังหวัดพระนคร[3] อำเภอเมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมีนบุรี
ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้โดยแบ่งพื้นที่จากตำบลทรายกองดิน[5] โดยในปีถัดมาก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงการบริหารราชการเมืองหลวงใหม่ อำเภอมีนบุรีจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร[7] แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แขวง
ต่อมาเขตมีนบุรีมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแยกพื้นที่ 5 แขวงทางด้านเหนือของเขตมีนบุรีมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และได้ใช้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตคลองสามวา[8] เพื่อคงชื่อในประวัติศาสตร์ไว้[9] โดยสำนักงานเขตคลองสามวาได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[8][9] พร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตหลักสี่[10] เขตสายไหม[11] เขตคันนายาว[11] เขตสะพานสูง[11] และเขตวังทองหลาง[12]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองสามวาแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
สามวาตะวันตก | Sam Wa Tawan Tok |
24.249
|
56,670
|
23,595
|
2,237.00
|
สามวาตะวันออก | Sam Wa Tawan Ok |
40.574
|
26,064
|
9,087
|
642.38
|
บางชัน | Bang Chan |
18.644
|
85,843
|
40,135
|
4,604.32
|
ทรายกองดิน | Sai Kong Din |
11.396
|
12,631
|
4,952
|
1,108.37
|
ทรายกองดินใต้ | Sai Kong Din Tai |
15.823
|
16,811
|
4,643
|
1,062.44
|
ทั้งหมด |
110.686
|
198,019
|
82,412
|
1,789.01
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองสามวา[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตคลองสามวามีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมการคมนาคมเขตนี้เข้ากับเขตใกล้เคียง ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก) เชื่อมระหว่างเขตคันนายาว เขตบางเขน เขตสายไหม เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ถนนนิมิตใหม่ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ถนนหทัยราษฎร์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตคลองสามวา
- ถนนคู้บอนและถนนเลียบคลองสอง เชื่อมระหว่างเขตคันนายาวกับเขตคลองสามวา
- ถนนปัญญาอินทรา เชื่อมระหว่างเขตคันนายาวกับเขตคลองสามวา
- ถนนไมตรีจิต เชื่อมระหว่างเขตคลองสามวากับเขตหนองจอก
- ถนนประชาร่วมใจ เชื่อมระหว่างเขตคลองสามวากับเขตหนองจอก
- ทางพิเศษฉลองรัช เชื่อมระหว่างเขตคลองสามวา เขตสายไหม และเขตพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร
ส่วนถนนสายรองและถนนที่ตัดผ่านเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ได้แก่
|
|
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน