Category Archives: ถนนหทัยราษฎร์

ถนนหทัยราษฎร์

ถนนหทัยราษฎร์ is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

ถนนหทัยราษฏร์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี โดยมีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นที่ถนนสุวินทวงศ์ ที่บริเวณแยกหทัยราษฎร์-สุวินทวงศ์ ในท้องที่เขตมีนบุรี โดยถนนมุ่งหน้าไปทิศเหนือ ถนนหทัยราษฎร์ในช่วงแรกนี้จะผ่านย่านชุมชนต่างๆโดยไม่มีเกาะกลางถนน เมื่อมาถึงซอยหทัยราษฎร์ 27 ถนนจะเริ่มมีเกาะกลางถนนตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงซอยหทัยราษฎร์ 37 จากนั้นถนนจะเข้าท้องที่เขตคลองสามวาสู่พื้นที่แขวงบางชันเมือผ่านซอยหทัยราษฎร์ 29 ตัดกับถนนสุเหร่าคลองหนึ่ง ข้ามคลองหนึ่งตะวันตก ตัดกับถนนหทัยมิตร และตัดกับถนนเลียบคลองสอง จากนั้นข้ามคลองสองตะวันตกเข้าสู่พื้นที่แขวงสามวาตะวันตก เมื่อผ่านซอยหทัยราษฎร์ 37 ถนนจะเริ่มไม่มีเกาะกลางถนนเมื่อข้ามคลองสามตะวันตก ตัดกับซอยหทัยราษฎร์ 39 ข้ามคลองสี่ตะวันตก ตัดกับถนนไทยรามัญ ข้ามคลองลำแบน ตัดกับถนนราษฎร์นิมิตร เมื่อผ่านซอยหทัยราษฎร์ 50 จากนั้นถนนจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานีบริเวณซอยเลียบคลองสี่ ข้ามถนนกาญจนาภิเษก จากนั้นถนนจะมุ่งหน้าไปทิศตะวันตก และไปสิ้นสุดที่แยกสายไหม-หทัยราษฎร์ที่บริเวณสะพานสายไหมหทัยราษฎร์ (หนองใหญ่) โดยมีถนนจะต่อเนื่องคือ ถนนสายไหม ในท้องที่เขตสายไหม

ลักษณะถนน[แก้]

  • ถนนสี่ช่องจราจรไปกลับแบบไม่มีเกาะกลาง ช่วงแรกตั้งแต่ถนนสุวินทวงศ์จนถึงซอยหทัยราษฏร์ 27 และช่วงที่สอง ตั้งแต่ซอยหทัยราษฏร์ 37 จนถึงสามแยกสายไหม-หทัยราษฏร์
  • ถนนสี่ช่องจราจรไปกลับแบบมีเกาะกลาง ตั้งแต่ซอยหทัยราษฏร์ 27 จนถึงซอยหทัยราษฏร์ 37

สถานที่สำคัญ[แก้]

เขตคลองสามวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันเขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากเขตสายไหม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตมีนบุรี มีคลองแสนแสบ คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองคู้บอน คลองคู้ชุมเห็ด และคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ[แก้]

บริเวณเขตคลองสามวาในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกท้องที่บริเวณทุ่งแสนแสบทางทิศตะวันออกของพระนครขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า “เมืองมีนบุรี[3][4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) ใหม่แห่งนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2474 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ทางการจึงได้ยุบจังหวัดมีนบุรีเข้ากับจังหวัดพระนคร[3] อำเภอเมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมีนบุรี

ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้โดยแบ่งพื้นที่จากตำบลทรายกองดิน[5] โดยในปีถัดมาก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงการบริหารราชการเมืองหลวงใหม่ อำเภอมีนบุรีจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร[7] แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แขวง

ต่อมาเขตมีนบุรีมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแยกพื้นที่ 5 แขวงทางด้านเหนือของเขตมีนบุรีมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และได้ใช้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตคลองสามวา[8] เพื่อคงชื่อในประวัติศาสตร์ไว้[9] โดยสำนักงานเขตคลองสามวาได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[8][9] พร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตหลักสี่[10] เขตสายไหม[11] เขตคันนายาว[11] เขตสะพานสูง[11] และเขตวังทองหลาง[12]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตคลองสามวาแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2561)
สามวาตะวันตก Sam Wa Tawan Tok
24.249
56,670
23,595
2,237.00
สามวาตะวันออก Sam Wa Tawan Ok
40.574
26,064
9,087
642.38
บางชัน Bang Chan
18.644
85,843
40,135
4,604.32
ทรายกองดิน Sai Kong Din
11.396
12,631
4,952
1,108.37
ทรายกองดินใต้ Sai Kong Din Tai
15.823
16,811
4,643
1,062.44
ทั้งหมด
110.686
198,019
82,412
1,789.01

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ในพื้นที่เขตคลองสามวามีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมการคมนาคมเขตนี้เข้ากับเขตใกล้เคียง ได้แก่

ส่วนถนนสายรองและถนนที่ตัดผ่านเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ได้แก่

ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน

 

 

Call Now Button