Category Archives: ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ is a position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (อังกฤษ: Science Center for Education) หรือที่นิยมเรียกตามชื่อเดิมของสถานที่ว่า ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (Bangkok Planetarium) ตั้งอยู่เลขที่ 928 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
เนื้อหา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ[แก้]
วิสัยทัศน์
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นองค์กรที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย บริการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ
พันธกิจ
1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ
2. พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ
3. พัฒนาภาคีเครือข่ายการจัดการศึกษา
4. พัฒนาระบบการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
5. พัฒนาองค์กร สถานศึกษา เพื่อเข้าสู่มาตรฐาน
เป้าประสงค์
1. ผู้รับบริการได้รับความรู้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ตลอดจนมีความพึงพอใจในการรับบริการ
2. มีองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
3. มีงานวิจัย หลักสูตร สื่อ นิทรรศการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายทันสมัยและมีคุณภาพ พร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. ชุมชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
5. มีระบบการบริหารจัดการอย่างมีมาตรฐาน
หน้าที่และความรับผิดชอบ ตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 1820/2557 เรื่อง การจัดแบ่งกลุ่มงานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
1. เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์การศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมแก่สังคม
2. ดำเนินการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติวิทยา สิ่งแวดล้อมวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดาราศาสตร์และอวกาศ แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
3. ในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ กิจกรรมการศึกษา และสื่อการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ
4. ศึกษา วิจัย พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษาด้านวิชาการวิทยาศาสตร์ และร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ประวัติศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา[แก้]
พ.ศ. 2495 | ยุบจัดตั้งกองอุปกรณ์การศึกษา |
พ.ศ. 2501 | คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ มอบอาคาร “ศาลาวันเด็ก” ในบริเวณสนามเสือป่า |
พ.ศ. 2505 | คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย มล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและหอดูดาว |
18 สิงหาคม 2507 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ |
ธันวาคม 2514 | สภาคณะปฏิวัติมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ |
พ.ศ. 2515 | รัฐบาลโดยคณะปฏิวัติมีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการของประเทศใหม่ “กองอุปกรณ์การศึกษา” เปลี่ยนชื่อเป็น “กองพิพิธภัณฑ์การศึกษา” |
สิงหาคม 2518 | เริ่มการสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ |
เมษายน 2519 | ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ “กองพิพิธภัณฑ์กาศึกษา”เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา” ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก คือ ศาลาวันเด็ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ |
กุมภาพันธ์ 2520 | การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แล้วเสร็จ |
24 มีนาคม 2522 | ประกาศจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานในสังกัด |
9 สิงหาคม 2522 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งแรกของประเทศไทย |
พ.ศ. 2537 | เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา” ในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน |
7 กรกฎาคม 2546 | ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เปลี่ยนชื่อสังกัด จาก กรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน |
1 ตุลาคม 2546 | รับการถ่ายโอนภารกิจการดูแลสนามกีฬาบ้านกล้วย มีพื้นที่จำนวน 10 ไร่ 10 ตารางวา ประกอบด้วย สระว่ายน้ำ และสนามเทนนิส พร้อมบ้านพักคนงาน จากสำนักพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
พ.ศ. 2551 | ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เปลี่ยนชื่อสังกัด จากสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 38 ไร่ 86 ตารางวา |
ตราสัญลักษณ์[แก้]
ที่มาและแนวคิดในการออกแบบ
แรงบันดาลใจหลักมาจากรูปทรงของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (Milky Way Form) ซึ่งมีความเป็นสากล/ง่ายในการจดจำ/สวยงามแปลกตา และสื่อความหมาย เปรียบเหมือนสัญลักษณ์แทนความเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัวที่สุด รูปทรงจำลองของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (ในแนวขวาง) นี้ยังถือได้ว่าเป็นตัวแทนของการค้นคว้า และศึกษาในศาสตร์แห่งความรู้ ความเข้าใจ ในความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกๆ แขนงไม่เพียงแค่เฉพาะคำจำกัดความของทางดาราศาสตร์เท่านั้น ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวสื่อได้ถึงความเป็นศูนย์กลางระดับชาติ สำหรับการศึกษา ค้นคว้า และสะท้อนถึงภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย พร้อมการพัฒนาองค์กรความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และอย่างต่อเนื่องให้กับทั้งเยาวชนและคนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ ด้วยความสวยงาม จดจำง่าย ทันสมัย และเป็นสากล ทั้งยังเหมาะกับการนำไปใช้ในสื่ออื่นที่เกี่ยวข้องในทุกรูปแบบขององค์กรฯ เองได้อีกด้วย
โทนสีที่ใช้
เน้นภาพลักษณ์ที่เป็นสากล/ความเป็นวิทยาศาสตร์ด้วยสีเทา ส่วนสีแดง/(ขาว-พื้นหลัง)/น้ำเงินเทนความเป็นองค์กรระดับชาติ โดยใช้สีดำเพิ่มความชัดเจนและหนักแน่นให้กับชื่อไทยและอังกฤษ
ความสำคัญของตราสัญลักษณ์ใหม่
1. คงความเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร
สื่อความเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หรือ Science Center for Education ได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็นที่สุด ด้วยรูปลักษณ์ประยุกต์ของ รูปทรงกาแล็คซี่ทางช้างเผือก ที่คุ้นตาเป็นอย่างดีของคนทั้งโลก ทุกเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัย ฯลฯ และแสดงถึงความเป็นองค์กรของไทย ด้วยโทนสี แดง-น้ำเงินและยังไม่ลืมรากเหง้าแห่งตราสัญลักษณ์เดิม ที่ได้นำมาบรรจุไว้ในตราฯใหม่ได้อย่างกลมกลืนและลงตัวเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญและที่มาของความเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
2. สะท้อนภารกิจหลักด้านวิทยาศาสตร์
รูปทรงกาแล็คซี่ประยุกต์ ดังกล่าว สะท้อนได้ชัดเจนที่สุดถึงภาระกิจทางด้านวิทยาศาสตร์ในฐานะเป็นสื่อ/สัญลักษณ์กลาง ในการเข้าใจถึงการตระหนัก ค้นคว้าพัฒนาองค์ความรู้ทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ไปจนกระทั่งถึง ระบบดาราศาสตร์ขั้นสูงและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของมนุษยชาติ
3. มีความสวยงาม จดจำง่าย และทันสมัย
รูปทรงกาแล็คซี่ประยุกต์ มีความทันสมัย น่าสนใจ และดึงดูดสายตาให้มีจุดสนใจร่วมเดียวกัน ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะตัว จดจำ และเข้าใจได้ง่าย สำหรับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน ประชาชน ทั่วไป รวมถึงชาวต่างประเทศไปในทิศทางเดียวกันิทั้งยังมีความสวยงามในด้านสีสันและองค์ประกอบ
4. มีอรรถประโยชน์ในการใช้งานสูง
นอกเหนือด้วยรูปทรงที่โดดเด่น ซึ่งสามารถปรับใช้ให้เข้ากับสภาพการณ์ได้ทุกรูปแบบแล้ว ยังเอื้อต่อการใช้งานในหลายๆ โอกาส โดยไม่ทำให้เสียความหมายของความเป็นองค์กรฯ อีกด้วย อาทิ
4.1 ความเหมาะสมในการปรับสีสันต่อโอกาสวาระ
4.2 ความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถถอด/แยกส่วน ในการใช้งานได้อย่างเหมาะสม
5. เอื้อต่อการพัฒนาใช้สอยในอนาคต
ตราสัญลักษณ์ดังกล่าว สามารถตอบรับอนาคต/ทิศทางข้างหน้า ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งในแง่ของ ความทันสมัย ความเป็นเอกลัษณ์เฉพาะตัว (โดยอนาคต จะสามารถจำได้แม้เพียงเห็นโลโกอย่างเดียว) ใช้ในกิจกรรมต่างๆ /การใช้สอยให้เกิดประโยชน์ด้านการค้า ( SCE: Souvenir Shop Zone ) อาทิ ปรับใช้ในเสื้อยืดเพื่อจำหน่าย/เข็มกลัด/อุปกรณ์การเรียน/พวงกุญแจ/อุปกรณ์ต่างๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ของศูนย์ฯ เป็นต้น
เครื่องฉายดาว[แก้]
1.เครื่องฉายดาว ZEISS Mark IV (มาร์ค โฟร์)[แก้]
ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และหอดูดาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ตลอดจนเป็นแหล่งที่เยาวชนสามารถไปชุมนุมหาความรู้ได้ง่าย เยาวชนจะได้เรียนจากของจำลองเหมือนของจริงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและรวดเร็วกว่าการสอนด้วยปากเปล่าทั้งก่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความมีเหตุผลและความเพลิดเพลิน ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กองอุปกรณ์การศึกษา กรมวิชาการเป็นเจ้าของในการก่อสร้างและดำเนินการต่อไป
คณะรัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างเมื่อ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2504 โดยมีห้างบีกริม แอนโก กรุงเทพ จำกัด และตัวแทน บริษัท คาร์ลไซซ์ ในสหพันธรัฐเยอรมันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จนเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2507
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิด อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและทอดพระเนตรการแสดงทางท้องฟ้า วันที่ 18 สิงหาคม 2507 ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดแสดงให้บริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เป็นต้นมา
ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการด้านเทคนิคว่า เครื่องฉายดาวระบบกลไกมอเตอร์และเลนส์ (Opto mechanical)
1. บริษัทผู้ผลิต Carl Zeiss Co., Ltd. ประเทศเยอรมนี
2. ชื่อรุ่น เครื่องฉายดาว ZEISS Mark IV (มาร์ค โฟร์)
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ใช้ไซซ์ส รุ่นที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยระบบเครื่องกล ระบบไฟฟ้า และระบบแสงที่ประณีตซับซ้อน สามารถแสดงภาพดวงดาวบนท้องฟ้าของประเทศใดก็ตาม ตามวันและเวลาที่ต้องการ โดยมีความสามารถฉายดาวฤกษ์ได้ 9,000 ดวง, ฉายดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวต่างๆ, ฉายภาพกลุ่มดาว ทางช้างเผือก กระจุกดาว ดาวหาง ดาวตก เมฆ แสงรุ่งอรุณ แสงสนธยา, แสดงการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา เส้นศูนย์สูตร เส้นสุริยวิถี เส้นเมอริเดียน ระบบสุริยะ และโลกหมุนรอบตัวเอง
2.เครื่องฉายดาวระบบดิจิตอล[แก้]
เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์การฉายดาวให้มีความทันสมัย สอดรับกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการศึกษา องค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จึงมอบหมายให้ บริษัท สยาม ทีซี เทคโนโลยี จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิศวกรรมที่ครอบคลุมตั้งแต่ ที่เป็นผู้นำในงานบริการด้านการจัดหาสินค้า และเทคโนโลยีต่าง ๆ งานประกอบและติดตั้งหรือการบำรุงรักษาอุปกรณ์ รวมทั้งในงานวิศวกรรมวางระบบ โซลูชั่นต่าง ๆ ในเครือดิทโต้ กรุ๊ป และมีพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง บริษัท Evans and Sutherland (E&S) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลกด้านเทคโนโลยีเครื่องฉายดารระบบดิจิตอล เป็นผู้นำเครื่องฉายดาว จำนวน 1 ชุด เข้ามาใช้งานตามโครงการจัดซื้อ โดยเครื่องฉายดาวระบบดิจิตอล ที่นำมาใช้เพิ่มเติมนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
2.1 ส่วนของการฉาย
ใช้เครื่องฉายภาพ ยี่ห้อ คริสตี้ (Christie) ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศว่าเป็นเครื่อง Projector ที่ดีที่สุดอันดับต้นๆ ในปัจจุบัน คริสตี้ บ๊อกเซอร์ ได้รับการออกแบบเพื่อให้มีน้ำหนักเบาขึ้น พร้อมทั้งยังพัฒนาให้ มีความสว่างที่สูงยอดเยี่ยม คริสตี้ ซึ่งมีความละเอียด 4K ความสว่างต่อเครื่องสูงถึง 30,000 Lumens และได้รับการออกแบบให้เป็น Projector สำหรับการใช้งานในโรงละคร ท้องฟ้าจำลองขนาดใหญ่ รวมถึงยังสามารถรองรับการใช้งานแบบ Heavy Duty ได้เป็นอย่างดี และด้วยเลนส์ Fish eye ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ฉายภาพได้กว้างกว่า Projector ทั่วไป และด้วยการติดตั้งทาง E&S ทำการติดตั้ง Projector โดยให้เลนส์ไม่ให้โดนส่วนบนของเครื่องฉายดาวระบบกลไกมอเตอร์และเลนส์ ทำให้ลำแสงของเครื่องฉายดาวที่ฉายขึ้นไปบนจอโดมเลยจุดกึ่งกลางของจอโดม และส่วนล่างลำแสงที่ฉายออกไปจะไปสิ้นสุดที่ขอบโดมฉายดาว ซึ่งทำให้ทั้ง 2 Projector นั้นมีพื้นที่ซ้อนทับกันด้านบนกลางจอโดม (Blending Region) ซึ่งจะมีการใช้ Software Digistar
2.2 ส่วนของการควบคุม
Software โดยการพัฒนามาถึงรุ่นที่ 5 ที่ชื่อว่า Digistar5 เป็น Software ควบคุมการทำงานการฉายภาพบนจอโดม เพื่อให้ภาพจากสอง Projector เป็นภาพเดียวกัน คือการฉายภาพแบบเต็มโดม ซึ่งเทคโนโลยีของ Digistar5 มีระบบ Auto Blending และ Auto Alignment ที่ทำให้ Projector ฉายภาพเป็นภาพเดียวกันได้เสมือนการฉายด้วย Projector เครื่องเดียว
ทั้งนี้นอกจากการให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ดำเนินการปรับปรุงศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพรวมถึงการดำเนินการปรับปรุง ตกแต่งบรรยากาศภายในห้องฉายดาว ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ภายใต้แนวความคิด ในการใช้ Theme แสงแห่ง Aurora เพื่อสร้างความสดใส แปลกตา ให้กับห้องฉายดาวที่มีอายุกว่า 52 ปี แต่ยังความคงความทันสมัยให้แก่ผู้ศึกษาได้เพลิดเพลินและสนุกสนาน กับการศึกษาดวงดาวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นแล้ว ดิทโด้ ยังให้ความสำคัญและน่าสนใจมาก อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน รวมถึงผู้ที่สนใจด้านดาราศาสตร์ จังหวัดที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึงท้องฟ้าจำลองได้อย่างง่ายดาย ไม่ใช่แค่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมถึง
นิทรรศการวิทยาศาสตร์[แก้]
นิทรรศการอาคาร 2 (อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์)[แก้]
- ธีออส : ดวงตาของชาติ
- Thailand Rally From Space
- ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
- วิทยาศาสตร์แสนสนุก 1
- สัมผัสอวกาศ
- กลมกลิ้ง
- ดินแดนแห่งแร่
- ดาวเคราะห์สีฟ้า
- พลังวิทย์พิชิตยาเสพติด
- เมืองไฟฟ้า (Electric City)
- กาล-อวกาศ (Space and Time)
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
นิทรรศการอาคาร 3[แก้]
- มหัศจรรย์ชีวิตในสายน้ำ
นิทรรศการอาคาร 4 (อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)[แก้]
- ชีวิตพิศวง
- นิทรรศการเมืองเด็ก
- โลกของแมลง
- ขุมทรัพย์โลกสีเขียว
- นิทรรศการไดโนเสาร์
นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy)[แก้]
ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชน (กระจ่าง บริรักษ์นิติเกษตร)[แก้]
เวลาทำการ[แก้]
เวลาทำการงานสำนักงาน[แก้]
เปิดบริการ : วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.
ปิดบริการ : วันเสาร์ – วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
เวลาทำการท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ[แก้]
เปิดบริการ : วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.30 น.
ปิดบริการ : วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
การเดินทาง[แก้]
- รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 25, 38, 40, 72, 501, 511, 513, 508
- รถไฟฟ้าใต้ดิน ลงสถานีสุขุมวิทแล้วขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส (ลงที่สถานีเอกมัย)
- รถไฟฟ้าบีทีเอส (ลงที่สถานีเอกมัย)
เขตคลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม