Category Archives: สวนจตุจักร
สวนจตุจักร
สวนจตุจักร is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
สวนจตุจักร เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกจรดถนนพหลโยธิน ทิศเหนือจรดถนนวิภาวดีรังสิต ทิศตะวันตกและทิศใต้จรดถนนกำแพงเพชร 3
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ปี พ.ศ. 2518 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน 100ไร่ เพื่อสร้างสวนสาธารณะตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ หรือ 48 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของสวนแห่งนี้ว่า “สวนจตุจักร” (ซึ่งเป็นชื่อภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า “สี่รอบ”) สวนจตุจักรเปิดทำการในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523[1]
ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจ[แก้]
อนุสรณ์เป็นประจักษ์พยานตั้งแต่เมื่อครั้งแรกสร้างเป็นสัญลักษณ์ของสวนสาธารณะ ได้แก่ หอนาฬิกา นาฬิกาดอกไม้ ประติมากรรมอาเซียน 6 ประเทศ นอกจากนี้แล้วในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งตรงกับช่วงฤดูร้อนในแต่ละปี บริเวณริมถนนพหลโยธินตรงช่วงด้านข้างของสวนจตุจักร รวมไปถึงสวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟที่อยู่ใกล้เคียง จะเป็นช่วงที่ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่ง และร่วงหล่นลงพื้นเป็นสีชมพูตัดกับสีเขียวของพื้นหญ้า ก่อให้เกิดเป็นภาพที่สวยงามอย่างยิ่ง[2][3] [4]
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]
บริการ | สถานี/ป้ายหยุดรถ | สายทาง |
---|---|---|
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | หมอชิต | รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท |
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | สวนจตุจักร | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล |
รถโดยสารประจำทาง | สวนจตุจักร | ช่วงเวลาปกติ A1 A2 3 8 26 27 29 34 39 44 52 59 63 77 90 96 104 108 122 134 136 138 145 157 182 502 503 509 510 517 524 529 Y70E เฉพาะช่วงเช้า 28 108 กะสว่าง 3 29 34 59 63 134 145 |
รถชัตเติลบัส | สวนจตุจักร | เชื่อมต่อไปยัง ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี |
เขต จตุจักร Khet Chatuchak is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
เขตจตุจักร – วิกิพีเดีย
สำนักงานเขตจตุจักร – กรุงเทพมหานคร
เอ็มเค เมทัลชีท (MK Metalsheet)
เขตจตุจักร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหลักสี่ มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตลาดพร้าว มีคลองบางบัวและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท มีคลองน้ำแก้ว คลองพระยาเวิก และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางซื่อและอำเภอเมืองนนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายเหนือและคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
แต่เดิม ตำบลลาดยาว เป็นท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามริมคลองสายหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองลาดยาว เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีชุมชนและบ้านจัดสรรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตัวเมืองในช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2507 อันเป็นปีที่ขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งครอบคลุมตำบลลาดยาวด้วย
ในปี พ.ศ. 2514 มีประกาศรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งเปลี่ยนการเรียกคำว่าตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลลาดยาวจึงมีฐานะเป็น แขวงลาดยาว ขึ้นกับเขตบางเขน
ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกแขวงลาดยาวและประกาศจัดตั้งเป็น เขตจตุจักร พร้อมกับจัดตั้งเขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงในเขตจตุจักรใหม่ โดยจัดตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจันทรเกษม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร แยกออกจากแขวงลาดยาว เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการของเขต เพราะเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงลาดยาวเพียงแขวงเดียว แต่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรอาศัยหนาแน่น จึงทำให้มีเลขที่บ้านซ้ำกันเป็นจำนวนมาก โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2][3] ทำให้ปัจจุบัน เขตจตุจักรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ลาดยาว | Lat Yao |
10.69
|
42,560
|
27,325
|
3,981.29
|
เสนานิคม | Sena Nikhom |
2.826
|
19,869
|
15,694
|
7,030.78
|
จันทรเกษม | Chan Kasem |
6.026
|
38,754
|
25,856
|
6,431.13
|
จอมพล | Chom Phon |
5.488
|
31,344
|
31,203
|
5,711.37
|
จตุจักร | Chatuchak |
7.878
|
23,396
|
13,475
|
2,969.78
|
ทั้งหมด |
32.908
|
155,923
|
113,553
|
4,738.14
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตจตุจักร[4] |
---|
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ได้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทโดยเกิดการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กันขึ้นมีผู้เสียชีวิต 6 รายที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 22.00 น. ได้เกิดเหตุไฟไหม้ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ มีผู้เสียชีวต 1 ราย ได้แก่ นาย เดชา ด้วง ชนะ[5]
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เปิดใช้อุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธิน ตามแนวถนนรัชดาภิเษก อุโมงค์ทางลอดมีขนาด 4 ช่องจราจร กว้าง 16.80 เมตร ยาว 1,085 เมตร ความสูงช่องทางลอด 5.25 เมตร และต่ำกว่าถนน 7.50 เมตร
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตจตุจักรมีทางสายหลัก ได้แก่
|
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
ทางด่วน
- ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์
- ทางพิเศษศรีรัช
ทางน้ำ
รถไฟฟ้า
- รถไฟฟ้ามหานคร มีสถานี 4 แห่ง คือ สถานีกำแพงเพชร, สถานีสวนจตุจักร, สถานีพหลโยธิน และสถานีลาดพร้าว
- รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นที่ตั้งของสถานีหมอชิตซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
รถโดยสาร
- เป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งสายเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่นิยมเรียกกันว่าสถานีขนส่งหมอชิตใหม่หรือจตุจักร)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- ตลาดนัดจตุจักร
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
- สวนจตุจักร
- สวนวชิรเบญจทัศ
- อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ
- สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
- ตลาด อ.ต.ก.
- พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร
- หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
- หอเกียรติภูมิรถไฟ
- สำนักงานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- วัดเสมียนนารี
- สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร
- พิพิธภัณฑ์อัยการไทย
- พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
- วัดเทวสุนทรทริการาม
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- กรมประมง
- กรมวิชาการเกษตร
- กรมส่งเสริมการเกษตร
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
- กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
- กรมการข้าว
- กรมหม่อนไหม
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
- กรมการขนส่งทางบก
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- บริษัท ขนส่ง จำกัด
- สถาบันการบินพลเรือน
- สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
- หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
สถานศึกษา[แก้]
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ตั้งอยู่ในแขวงลาดยาว
- มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ตั้งอยู่ในแขวงจอมพล
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน ตั้งอยู่ในแขวงเสนานิคม
- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ตั้งอยู่ในแขวงจันทรเกษม
- โรงเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- โรงเรียนธัชรินทร์วิทยาบางเขน
- โรงเรียนบ้านลาดพร้าว
- โรงเรียนประชานิเวศน์
- โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
- โรงเรียนวัดเทวสุนทร
- โรงเรียนวัดเสมียนนารี
- โรงเรียนเสนานิคม
- โรงเรียนสารวิทยา
- โรงเรียนหอวัง
- โรงเรียนอรรถมิตร
- โรงเรียนสตรีวรนาถบางเขน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 3 มกราคม 2562.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00134192.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00134191.PDF
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “จำนวนประชากรและบ้าน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/crime/200983