Category Archives: วัดสร้อยทอง

วัดสร้อยทอง

วัดสร้อยทอง is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

วัดสร้อยทอง หรือ วัดสร้อยทองพระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ วัดแห่งนี้เดิมชื่อ “วัดซ่อนทอง”[1] เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ที่ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2394 โดยลูกหลานของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (แพ บุนนาค) ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดประสบภัยทางอากาศได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในปลายปี พ.ศ. 2488 ประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัด และก่อสร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่ วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พร้อมกับการสร้างวัด ในปี พ.ศ. 2394 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย (ปัจจุบันโรงเรียนสมาคมพิทยากร ได้เป็นชื่อของโรงเรียนวัดวิมุตพิทยาราม) และมีวัดสร้อยทองที่นามพ้องกันอีกแห่งในจังหวัดปทุมธานี โดยชาวบ้านเรียกว่า วัดเสด็จ

หลวงพ่อเหลือ

ปัจจุบันวัดสร้อยทองเป็นวัดที่มีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีขนาดใหญ่ มีการเรียนการสอนถึงระดับเปรียญธรรม ๙ ประโยค และมีพระภิกษุสามเณรสอบไล่พระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลีได้ทุกปี

ที่ตั้ง ถนนประชาราษฎร์สาย1(บางโพ) แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

เขตบางซื่อ Khet Bang Sue is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.

เขตบางซื่อ – วิกิพีเดีย

ติดต่อเรา – สำนักงานเขตบางซื่อ – กรุงเทพมหานคร

สำนักงานเขตบางซื่อ – หน้าหลัก | Facebook

บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด

MK Metalsheet Products Company Limited

เขตบางซื่อ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ[แก้]

วัดบางโพโอมาวาส แขวงบางซื่อ ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

อำเภอบางซื่อ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอชั้นนอกอำเภอหนึ่งในมณฑลกรุงเทพ โดยขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.ศ. 2437[2] ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงที่มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดนั้น อำเภอบางซื่อแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางพลัด ตำบลบางอ้อ ตำบลบางโพ ตำบลบางกระบือ ตำบลถนนนครไชยศรี ตำบลสามเสนใน ตำบลสามเสนนอก ตำบลลาดยาว ตำบลสี่แยกบางซื่อ ตำบลบางซื่อใต้ ตำบลบางซื่อเหนือ ตำบลบางซ่อน ตำบลบางเขนใต้ และตำบลบางเขน[3] (ครอบคลุมไปถึงพื้นที่บางส่วนของเขตบางพลัด เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตจตุจักร และอำเภอเมืองนนทบุรีในปัจจุบัน)[4]

ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานคร (หรือมณฑลกรุงเทพ) ขึ้นใหม่ และกำหนดให้อำเภอบางซื่อรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร[5] ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในเขตจังหวัดพระนครได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองใหม่หลายครั้ง ตำบลในอำเภอบางซื่อหลายตำบลถูกยุบรวมกับตำบลอื่นหรือไม่ก็ถูกโอนไปขึ้นกับอำเภอข้างเคียง ทำให้อำเภอนี้มีขนาดเนื้อที่ลดลง ใน พ.ศ. 2470 ท้องที่อำเภอบางซื่อเหลือเพียงตำบลบางซื่อ บางซ่อน ลาดยาว สามเสนนอก สามเสนใน และบางกระบือเท่านั้น[6] ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางราชการมีคำสั่งให้รวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน อำเภอบางซื่อจึงถูกยุบเลิก เหลือเพียงชื่อ ตำบลบางซื่อ เป็นเขตการปกครองย่อยของอำเภอดุสิตนับแต่นั้น[7]

ใน พ.ศ. 2514 มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบลตามลำดับ[9] ตำบลบางซื่อจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางซื่อ และยังคงขึ้นกับเขตดุสิต

ภายหลังเขตดุสิตมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงบางซื่อ (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเขต) ยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงและสะดวกรวดเร็ว ในขั้นแรกกรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบในพื้นที่แขวงบางซื่อเมื่อ พ.ศ. 2532 ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทยแยกแขวงบางซื่อออกจากเขตดุสิตและจัดตั้งเป็น เขตบางซื่อ ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ และการให้บริการแก่ประชาชนที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในท้องที่มากขึ้น ประกาศฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่กระทรวงออกประกาศนั่นเอง[10]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงวงศ์สว่างแยกจากพื้นที่แขวงบางซื่อ โดยใช้ทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต[11] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบางซื่อแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
บางซื่อ Bang Sue
5.739
81,634
44,835
14,224.42
วงศ์สว่าง Wong Sawang
5.761
43,665
24,759
7,579.41
ทั้งหมด
11.500
125,299
69,594
10,895.56

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางสายหลัก ได้แก่
สายรองและทางลัด

เขตบางซื่อมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง ได้แก่

ทางน้ำมีแม่น้ำเจ้าพระยา

สถานที่สำคัญ[แก้]

วัด[แก้]

ระบบขนส่งมวลชน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1.  สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 3 มกราคม 2562.
  2.  สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ.” [ม.ป.ท., ม.ป.ป.]. (แผ่นพับ).
  3.  ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม 2]. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2549, หน้า 21.
  4.  กรมแผนที่ทหาร. กองบัญชาการทหารสูงสุด. แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2431-2474 = Maps of Bangkok, A.D. 1888-1931. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร, 2542.
  5.  “ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง กำหนดเขตร์ท้องที่การปกครองกรุงเทพพระมหานคร” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา32: 325–334. 31 ตุลาคม 2458.
  6.  กระทรวงมหาดไทย. ทำเนียบท้องที่ หัวเมือง กระทรวงมหาดไทย พระพุทธศักราช ๒๔๗๐. พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2471, หน้า 3.
  7.  “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา22: 1840–1842. 29 สิงหาคม 2481.
  8.  “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514.
  9.  “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  10.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดุสิตและตั้งเขตบางซื่อ” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา106 (พิเศษ 208 ง): 8. 24 พฤศจิกายน 2532.
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/47.PDF
  12.  สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “จำนวนประชากรและบ้าน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 11 มีนาคม 2560.
Call Now Button