Category Archives: ซอยจุฬา 2
ซอยจุฬา 2
ซอยจุฬา 2 is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ซอยจุฬา 2 เป็นแขวงหนึ่งใน 2 แขวงของเขตพระโขนง
เขตพระโขนง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตพระโขนงตั้งอยู่ทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองเตย เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง มีแนวเส้นตรงจากจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร), ซอยสุขุมวิท 52, ซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์), คลองบางนางจีน, คลองขวางบน, คลองสวนอ้อย, ลำราง, คลองบ้านหลาย, ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล), ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) และซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสวนหลวงและเขตประเวศ มีคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางนา มีถนนอุดมสุข ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1), ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4), ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) และคลองบางอ้อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
เขตพระโขนงเดิมมีฐานะเป็น อำเภอพระโขนง เป็นเขตการปกครองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ปรากฏชื่อเท่าที่สืบค้นได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2445[2] (เมืองนครเขื่อนขันธ์เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดงใน พ.ศ. 2457 และเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดพระประแดงใน พ.ศ. 2459)[2] ในสมัยแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่สามแยกวัดมหาบุศย์ (บริเวณที่คลองตันบรรจบคลองพระโขนง) แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองเตย ตำบลคลองตัน ตำบลพระโขนง ตำบลสวนหลวง ตำบลศีรษะป่า (หัวป่า) ตำบลคลองประเวศ ตำบลทุ่งดอกไม้ ตำบลหนองบอน ตำบลบางจาก ตำบลบางนา ตำบลสำโรง และตำบลบางแก้ว[3] จากนั้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่วัดสะพาน ริมทางรถไฟสายปากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2459[3]
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 ทางราชการได้โอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครเพื่อความสะดวกในการปกครอง[4] ก่อนที่จังหวัดพระประแดงจะถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับจังหวัดธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี[5] และเนื่องจากท้องที่อำเภอพระโขนงเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่น ใน พ.ศ. 2479 ทางราชการจึงได้ตั้งเทศบาลนครกรุงเทพโดยโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองเตยเข้าไปในท้องที่[6] และได้ขยายเขตเทศบาลออกไปครอบคลุมตำบลอื่น ๆ เกือบทั้งหมดในอำเภอภายใน พ.ศ. 2507[7] ในช่วงนี้ที่ว่าการอำเภอพระโขนงได้ย้ายจากวัดสะพานมาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท (ที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน) แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495[3]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงด้วย อำเภอพระโขนงจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระโขนง แบ่งออกเป็น 9 แขวงตามจำนวนตำบลที่มีอยู่เดิมก่อนการปรับปรุงรูปแบบการบริหารเมืองหลวง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ใน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตสาขาของเขตพระโขนงขึ้น 3 แห่งขึ้นดูแลท้องที่ต่าง ๆ[10][11][12] เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ยกฐานะท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 และสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 เป็นเขตคลองเตยและเขตประเวศตามลำดับ[13] (ส่วนท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 โอนไปเป็นของเขตประเวศจนกระทั่งใน พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง)[14]
เมื่อ พ.ศ. 2541 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงอีกครั้ง โดยแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากได้รับการยกฐานะเป็นเขตบางนา[15] ท้องที่เขตพระโขนงจึงเหลือแขวงบางจากอยู่เพียงแขวงเดียวจนกระทั่ง พ.ศ. 2560 จึงมีการแบ่งแขวงการปกครองในเขตพระโขนงออกเป็นสองแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงพระโขนงใต้แยกจากพื้นที่แขวงบางจาก โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตพระโขนงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[16] ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2562) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
บางจาก | Bang Chak |
67,534
|
41,615
|
||
พระโขนงใต้ | Phra Khanong Tai |
21,464
|
16,830
|
||
ทั้งหมด |
13.986
|
88,998
|
58,445
|
6,363.36
|
โดยมีถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองของแขวงทั้ง 2 ดังกล่าว
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตพระโขนง[17] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตพระโขนง ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่