Category Archives: เขตสวนหลวง
เขตสวนหลวง
เขตสวนหลวง is a position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
เขตสวนหลวง Suan Luang District is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
เขต สวนหลวง – วิกิพีเดีย
สำนักงานเขตสวนหลวง – กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตสวนหลวง – หน้าหลัก | Facebook
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
เขตสวนหลวง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตสวนหลวงตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ และเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบ คลองกะจะ คลองหัวหมาก ลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศ มีคลองบึงบ้านม้า ลำรางหลังหมู่บ้านเอื้อสุข คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนองบอนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตพระโขนง มีคลองตาสาด (คลองคู้) คลองเคล็ด ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) คลองบ้านหลาย ลำราง คลองสวนอ้อย คลองขวางบน และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองบางนางจีนและคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
เขตสวนหลวงเดิมมีฐานะเป็น ตำบลสวนหลวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้โอนอำเภอพระโขนงรวมทั้งตำบลสวนหลวงมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร[2] โดยตำบลสวนหลวงได้กลายเป็นเป็นท้องที่หนึ่งในเขตสุขาภิบาลประเวศที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2506[3] จนกระทั่งได้รับการโอนไปเป็นท้องที่ของเทศบาลนครกรุงเทพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508[4]
ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสวนหลวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสวนหลวง เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังท้องที่เขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 (สวนหลวง) ดูแลพื้นที่แขวงสวนหลวง[7] และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็นเขตประเวศ แบ่งออกเป็น 4 แขวงซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วย[8] เนื่องจากยังไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะขึ้นเป็นเขตใหม่ จึงให้คงฐานะเป็นสำนักงานเขตสาขาไว้ก่อน[7] สำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง[9]
จนกระทั่งในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงสวนหลวง บางส่วนของแขวงประเวศ เขตประเวศ และบางส่วนของแขวงคลองตัน บางส่วนของแขวงพระโขนง เขตคลองเตย มาจัดตั้งเป็น เขตสวนหลวง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงสวนหลวงเต็มพื้นที่เขต โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537[10][11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงอ่อนนุชและแขวงพัฒนาการแยกจากพื้นที่แขวงสวนหลวง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตสวนหลวงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง[12] ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
สวนหลวง | Suan Luang |
46,625
|
30,889
|
||
อ่อนนุช | On Nut |
45,287
|
27,260
|
||
พัฒนาการ | Phatthanakan |
31,114
|
18,535
|
||
ทั้งหมด |
23.678
|
123,026
|
76,684
|
5,195.79
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสวนหลวง[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนมอเตอร์เวย์
- ถนนศรีนครินทร์
- ถนนพระราม 9
- ถนนพัฒนาการ
- ถนนรามคำแหง
- ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)
- ถนนอ่อนนุช
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางสายรองและทางลัด
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ
- วัดมหาบุศย์
- ตลาดเอี่ยมสมบัติ
- วัดปากบ่อ
- วัดใต้
- วัดยาง
- วัดทองใน
- วัดต้นไทรย์
- วัดขจรศิริ (วัดขอม)
- ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย