Category Archives: อำเภอโคกสำโรง
อำเภอโคกสำโรง
อำเภอโคกสำโรง is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
อำเภอโคกสำโรง เป็นอำเภอหนึ่งใน 11 อำเภอของจังหวัดลพบุรี
จังหวัดลพบุรี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
จังหวัดลพบุรี | ||||
---|---|---|---|---|
|
||||
วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์ | ||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||
อักษรไทย | ลพบุรี | |||
อักษรโรมัน | Lop Buri | |||
ชื่อไทยอื่น ๆ | ละโว้, ลวปุระ, ลวรัฐ, ละโว้โยทิยา | |||
ผู้ว่าราชการ | สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560) |
|||
ข้อมูลสถิติ | ||||
พื้นที่ | 6,199.753 ตร.กม.[1] (อันดับที่ 36) |
|||
ประชากร | 755,556 คน[2] (พ.ศ. 2562) (อันดับที่ 31) |
|||
ความหนาแน่น | 121.86 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 39) |
|||
ISO 3166-2 | TH-16 | |||
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | ||||
ต้นไม้ | พิกุล | |||
ดอกไม้ | พิกุล | |||
ศาลากลางจังหวัด | ||||
ที่ตั้ง | ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000 | |||
โทรศัพท์ | 0 3642 0310 | |||
โทรสาร | 0 3642 0310 | |||
เว็บไซต์ | จังหวัดลพบุรี | |||
แผนที่ | ||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ[3] เนื่องจากตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางของประเทศไทย อีกทั้งยังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์มายาวนาน ซึ่งในอดีตยังเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้
ประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายสมัย เดิมเรียก ละโว้ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ มีหลักฐานที่สำคัญคือ พระปรางค์สามยอด (อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี) เป็นศิลปะเขมรสมัยบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 และมีศาลพระกาฬซึ่งเก่าแก่ในสมัยเดียวกัน
คำว่า “ละโว้” นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้)[ใครกล่าว?] ซึ่งคำว่า ลวะ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า น้ำ[ต้องการอ้างอิง] (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก “ลโวทัยปุระ” ยังพบปรากฏบนเหรียญเงินโบราณที่ขุดค้นได้ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง] แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว้ มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา[ต้องการอ้างอิง]
ลพบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ติดต่อกันนานนับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ปีมาแล้ว จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก รวมทั้งมีหลักฐานเอกสารและจารึกต่าง ๆ กล่าวถึงเมืองลพบุรีอยู่หลายชิ้นเช่นในพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีหลักฐานคือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระยากาฬวรรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1002 นอกจากนี้ยังมีตำนานชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยใน พ.ศ. 1204 ต่อมาอีก 2 ปี คือ พ.ศ. 1206 ได้ส่งทูตล่องลำน้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้ไปปกครอง กษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดา ให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ทรงสร้างวัดจามเทวีที่เมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน จึงสรุปได้ว่าลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับและขอเชื้อสายไปปกครอง
ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16–18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมร ทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรี
ตำนานเมือง[แก้]
เมืองลพบุรีเป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่สมัยละโว้ ได้มีตำนานที่กล่าวถึงไว้อยู่มาก และมีชื่อสถานที่ที่ตั้งตามตำนานด้วย
- เมืองลิง เล่ากันว่า จากเรื่อง รามเกียรติ์ สมัยที่พระรามไปรบกับทศกัณฐ์จนชนะแล้ว เนื่องจากการช่วยเหลือหลายครั้งของหนุมาน พระรามจึงคิดจะให้รางวัลกับหนุมาน จึงให้มาดูแลเมืองละโว้ธานี หนุมานก็นำทหารลิงมาด้วยจำนวนหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ที่ลพบุรีมีลิง ซึ่งอาจจะเป็นลูกหลานทหารของหนุมาน และนอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า ในสมัยก่อนลพบุรีมักถูกไฟไหม้ต่อกันเป็นแนวยาว ๆ เนื่องจากหนุมานได้เหาะมาตรวจเมืองของตนเอง แต่ด้วยความเร็วในการบินที่เร็วมาก และหางอันยาวของหนุมานก็ได้ลากที่พื้นจนเกิดไฟไหม้ดังกล่าว
- เรื่องของควายทรพี และทรพา ที่ลพบุรีจะมีภูเขาที่ชื่อว่าเขาทับควาย ซึ่งจะมีแร่เหล็กจำนวนมาก และแร่เหล็กนี้จะทำให้ดินเป็นสีออกแดงคล้ายกับเลือด จึงมีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อก่อนมีฝูงควายฝูงใหญ่ที่อาศัยอยู่ หัวหน้าฝูงชื่อ ทรพา เป็นควายที่แข็งแรงมาก และควายในฝูงก็จะเป็นตัวเมียเท่านั้น ทรพาจะฆ่าลูกที่เป็นตัวผู้ทิ้งหมด เพื่อกันไม่ให้มาแย่งตำแหน่งหัวหน้าของตน จนมีแม่ควายตัวหนึ่งตกลูก เป็นตัวผู้ แต่กลัวว่าจะถูกฆ่าจึงนำลูกไปซ่อนไว้ และตั้งชื่อลูกว่า ทรพี ให้คล้ายกับชื่อพ่อ ลูกควายรู้ว่าทำไมแม่ต้องซ่อนตนไว้ จึงเกิดความแค้นพ่ออย่างมาก และพยายามวัดเท้าตนกับรอยเท้าของพ่อตลอดมา จนทรพีโตเป็นหนุ่ม พอได้วัดรอยเท้าแล้วเท่ากับพ่อ จึงออกไปท้าสู้กับพ่อ และด้วยความที่ยังหนุ่มกว่า เรี่ยวแรงมากกว่า จึงเอาชนะพ่อที่แก่ชราได้ และฆ่าพ่อตาย ต่อมาทรพีจึงเป็นหัวหน้าฝูงแทน
- เขาวงพระจันทร์ ดูจาก เขาวงพระจันทร์
- ขันหมากเจ้ากรุงจีน มีพ่อค้าจีนชื่อ กงจีน หรือ เจ้ากรุงจีน เดินทางมาค้าขายโดยเรือสำเภา พ่อค้าคนนี้ร่ำรวยเป็นเศรษฐี และได้มาพบสาวงามชื่อนางนงประจันทร์ เกิดรักใคร่ขึ้น จึงมาสู่ขอกับพ่อของนาง ตอนที่ขบวนเรือขันหมากแล่นมาใกล้เมืองลพบุรี (ต่อมาสถานที่นั้นกลายเป็นคลองชื่อ คลองบางขันหมาก) เมื่อชายหนุ่มที่เป็นคนรักของนางนงประจันทร์ทราบเรื่อง ก็แปลงกายเป็นจรเข้ตัวใหญ่มากไปขวางขบวนเรือ และทำลายเรือขันหมาก ลูกเรือก็กระโดดน้ำหนี (บริเวณตรงนั้นปัจจุบันกลายเป็นภูเขาเตี้ย ๆ ชื่อเขาจีนโจน) มีลูกเรือบางส่วนขึ้นฝั่งได้ก็พากันมามองหาเรือและตามเก็บของที่ลอยน้ำมา (บริเวณนี้กลายเป็นภูเขาชื่อเขาจีนแล) ส่วนเรือสำเภาที่ล่มกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเภา ข้าวของที่พ่อค้านำมาเป็นสินสอดมีผ้าแพรที่พับไว้อย่างดีซึ่งจมน้ำ ต่อมากลายเป็นภูเขามีลักษณะเป็นชั้น ๆ ชื่อเขาพับผ้า หรือเขาหนีบ ส่วนแก้วแหวนเงินทองงมาจมลงที่เดียวกันกลายเป็นภูเขาชื่อเขาแก้ว มีตะกร้าที่นำมาด้วยจมอยู่กลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะกร้า และมีพวกขนมที่นำมารวมกองกันอยู่กลายเป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายขนมเข่งขึ้นรา ชื่อเขาขนมบูด ส่วนนางนงประจันทร์ระหว่างรอขบวนขันหมากและเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดตกใจตกลงไปในน้ำ นางจึงจมน้ำตายและกลายเป็นภูเขาชื่อเขานงประจันทร์ หรือเขานางพระจันทร์ (ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็นเขาวงพระจันทร์ แต่เรื่องนี้เป็นคนละตำนานกับตำนานเขาวงพระจันทร์) สำหรับจรเข้หนุ่มเมื่อล่มเรือขันหมากแล้วเห็นคนรักตกน้ำพยายามจะว่ายไปช่วยแต่หมดแรงก่อนจึงจมน้ำตายกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเข้ หรือเขาจรเข้
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
จังหวัดลพบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 48 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 155 กิโลเมตร หรือทางรถไฟสายเหนือประมาณ 133 กิโลเมตร มีพื้นที่ 6,586.67 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,116,668 ไร่
จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ 8 จังหวัดดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดสิงห์บุรี
ภูมิประเทศ[แก้]
ภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
- ที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ 1,170 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ของอำเภอท่าวุ้งทั้งหมด ตอนกลาง และตะวันตกของอำเภอเมืองลพบุรี ตอนกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอโคกสำโรง และส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่ พื้นที่ราบตอนกลางของอำเภอเมืองลพบุรี บริเวณหมู่บ้านสะพานอิฐ และหมู่บ้านหินสองก้อนจะมีดินสีขาวที่สามารถนำมาทำดินสอพองได้ และดินสอพองของจังหวัดลพบุรีได้ชื่อว่าเป็นดินสอพองที่ดีที่สุดของเมืองไทย
- ที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีเนื้อที่ 4,816.67 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านหมี่บางส่วน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกของอำเภอโคกสำโรงและอำเภอท่าหลวง
มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน นั่นคือ แม่น้ำป่าสัก โดยมีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อกักเก็บน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวจังหวัดลพบุรี และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งยังมี แม่น้ำลพบุรีผ่านทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดด้วย รวมทั้งมีระบบคลองชลประทานที่เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรมอีกด้วย
ภูมิอากาศ[แก้]
สภาพโดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1,147.6 มิลลิเมตร สำหรับมีฤดูกาลต่าง ๆ มี 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม อากาศจะร้อน และแห้งแล้ง
- ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน
ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]
จังหวัดลพบุรีเคยปกคลุมด้วยป่าไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นป่าดิบแล้งผืนใหญ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ป่าเบญจพรรณ และป่าแดง หรือป่าเต็งรังในเขตเชิงเขา ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลพบุรีนับว่ามีสภาพเสื่อมโทรม และปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ของจังหวัด มีการสำรวจทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมปี พ.ศ. 2525 พบว่าสภาพป่าไม้มีเนื้อที่ร้อยละ 4.69 ของเนื้อที่จังหวัด ต่างกับภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งมีเนื้อที่ป่าร้อยละ 33.95 จะเห็นว่าในช่วงเวลา 21 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ลดลงร้อยละ 29.26 และมีสภาพเป็นป่าที่ถูกทำลายใน 2528 จังหวัดลพบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้ 174,375 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 4.50 ของเนื้อที่จังหวัด และในปี 2540 มีการสำรวจพบว่าพื้นที่ป่าได้ถูกบุกรุกทำลายไป จนเหลือป่าที่สมบูรณ์เพียง 123,125 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 3.18 ของพื้นที่จังหวัดจากการที่ป่าไม้ในจังหวัดมีสภาพลดลง กรมป่าไม้จึงได้อนุรักษ์ป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ไว้ ปัจจุบันมีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 4 แห่ง รวมเนื้อที่ 1,110,108.25 ไร่ (1,776.17 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ได้แก่ ป่าซับลังกา ป่าวังเพลิง ป่าชัยบาดาล และป่าเขาเพนียด
ป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าซับลังกา มีพื้นที่ (248,987.50 ไร่), ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังเพลิงม่วงค่อมลำนารายณ์ มีพื้นที่ 447,081.25 ไร่, ป่าสงวนแห่งชาติป่าชัยบาดาล มีพื้นที่ 396,562.50 ไร่, และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเพนียด มีพื้นที่ 17,477 ไร่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์
ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดลพบุรีนับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพด้านการจัดการมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชท่านทรงเป็นผู้สร้างเมืองลพบุรีและได้มีการนำท่อดินเผาสูบน้ำจาก “อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก” มาใช้ในกิจการต่าง ๆ ภายในวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่มีการปล่อยน้ำไปสู่แหล่งการเกษตรและอุตสาหกรรม การอนุรักษ์น้ำของคลองชลประธาน แม่น้ำและคลองที่สำคัญ เช่น แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำบางขาม และคลองอนุศาสนนันท์
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพิกุล (Mimusops elengi)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: พิกุล (Mimusops elengi)
- คำขวัญประจำจังหวัด: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดลพบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ, 121 ตำบล, 1,122 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ในด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรีประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองเขาสามยอด และเทศบาลเมืองบ้านหมี่, เทศบาลตำบล 19 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 103 แห่ง โดยรายชื่อเทศบาลจำแนกตามอำเภอในจังหวัดลพบุรี มีดังนี้
อำเภอเมืองลพบุรี
อำเภอพัฒนานิคม
|
อำเภอโคกสำโรง
อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าวุ้ง
อำเภอบ้านหมี่ |
อำเภอท่าหลวง
อำเภอสระโบสถ์
อำเภอโคกเจริญ
อำเภอลำสนธิ
อำเภอหนองม่วง
|
ประชากร[แก้]
ประชากรในจังหวัดลพบุรีมีด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น ไทยภาคกลาง ไทยพวน (เดิมเรียก ลาวพวน) และไทยเบิ้ง (หรือไทยเดิ้ง) ไทยอีสาน (พูดภาษาอีสาน) ไทยมอญ นอกจากนี้ยังมีชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายอินเดียจำนวนไม่น้อยอีกด้วย
ประชากรของจังหวัดลพบุรีส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว แต่ปัจจุบันมีหลายกลุ่มที่มีความเป็นไทย ชาวไทยภาคกลางนั้นจะหนาแน่นแถบอำเภอเมืองใกล้รอยต่อระหว่างจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง รอบนอกเมืองลพบุรีส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายลาวทุกอำเภอ ซึ่งแต่เดิมปรากฏว่ามีการใช้ภาษาลาวด้วย แต่ปัจจุบันหลายชุมชนในอำเภอเมืองมีแนวโน้มในการใช้ภาษาลาวลดลง และมีชนเชื้อสายจีนปะปนอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีชนเชื้อสายลาวพวนส่วนใหญ่อยู่ในท้องที่อำเภอบ้านหมี่ มีบ้างในตำบลถนนใหญ่ และโคกกระเทียมในอำเภอเมือง ชนเชื้อสายมอญอาศัยอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางขันหมากส่วนล่าง (ส่วนบนส่วนใหญ่เป็นชาวไทย) อำเภอเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีชาวไทเบิ้ง ซึ่งเป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวไทยโคราช ที่ส่วนใหญ่อาศัยในอำเภอพัฒนานิคม ส่วนชาวอีสานนั้นเข้ามาทางตะวันออกซึ่งติดกับจังหวัดนครราชสีมา กับจังหวัดชัยภูมิ และอาศัยทางโคกเจริญ ชัยบาดาล ฯลฯ ชาวไทยเชื้อสายปากีสถานและอินเดียก็อาศัยในอำเภอเมืองและชัยบาดาล ซึ่งชนเชื้อสายต่าง ๆ นี้ยังคงรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ลักษณะนิสัยต่าง ๆ จึงแตกต่างกัน แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับประชากรส่วนใหญ่ได้ดี
จำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดลพบุรี จากรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ช่วงปี พ.ศ. 2540-2550 มีประชากรนับถึงสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 787,768 คน แยกเป็นเพศชาย 410,775 คน เพศหญิง 376,993 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 127 คนต่อตารางกิโลเมตร เนื่องจากจังหวัดลพบุรีเป็นเมืองยุทธศาสตร์การทหารจึงทำให้มีประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย แนวโน้มจำนวนประชากรในช่วง 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2540-2550) คาดว่าในปี พ.ศ. 2550 ประชากรจังหวัดลพบุรีจะมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 906,149 คน
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อยน้ำตาล ถั่วเขียว ถั่วเหลือง รายได้เฉลี่ยของประชากรในปี พ.ศ. 2537 คือ 34,301 บาทต่อคนต่อปี พ.ศ. 2540 จำนวน 47,335 บาทต่อคนต่อปี และคาดว่าในปี พ.ศ. 2550 จะเท่ากับ 76,446 บาทต่อคนต่อปี
เศรษฐกิจ[แก้]
จังหวัดลพบุรี เมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมายาวนานกว่า 3,000 ปี นับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุครุ่งเรืองสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่อยมาจนถึงเมืองแห่งศูนย์กลางการทหารในยุคเปลี่ยนผ่านการปกครอง และในปัจจุบัน ด้วยศักยภาพจากภูมิศาสตร์อันเหมาะสมทำให้จังหวัดลพบุรี กำลังก้าวไปสู่ “เมืองแห่งพลังงานทดแทน”
ปัจจุบัน จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ประมาณ 6,199.753 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ ในปี พ.ศ. 2557 มีประชากรประมาณ 758,627 คน และปี พ.ศ. 2555 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 86,602 ล้านบาท รายได้ต่อหัว 112,119 บาทต่อคนต่อปี โดยรายได้ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 50 มาจากภาคอุตสาหกรรม รองลงมาคือสาขาเกษตรกรรม และการท่องเที่ยว บริการ
ในบรรดา 4 จังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรีถือเป็นหัวขบวนทางเศรษฐกิจ และจัดอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 3 ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานส่งเสริมการลงทุนสูงสุด ทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมถึง 776 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร และเครื่องจักรกล มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมกว่า 50,000 คน ซึ่งแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดได้ถึง 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี
จังหวัดลพบุรีมีสินค้าหัตถกรรมมากมาย เช่น ปลาส้มฟัก ดินสอพอง (มีการทำไข่เค็มจากดินสอพองด้วย) ผลิตภัณฑ์จากดอกทานตะวัน ผ้ามัดหมี่ และผ้าขาวม้าลายไส้ปลาไหล เป็นต้น
วัฒนธรรม[แก้]
ระบำลพบุรี[แก้]
ระบำลพบุรี เป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา พระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง (ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฏศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ผู้ประพันธ์ทำนองเพลง คือ ครูมนตรี ตราโมท
เพลง[แก้]
บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดลพบุรี เช่น “ลพบุรีแดนทองของไทย” “ความหนาวที่ลพบุรี” “เข็ดแล้วลพบุรี” เป็นต้น
เทศกาลงานประจำปี[แก้]
- งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีต่อจังหวัดลพบุรี ณ.พระนารายณ์ราชนิเวศน์
- เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน ที่ลพบุรี ช่วงเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม
- งานเทศกาลลอยกระทง ย้อนยุคไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จัด ณ วงเวียนสระแก้ว ลพบุรี
- งานเทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี ช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลผลิตกระท้อนของอำเภอเมืองลพบุรี
- เทศกาลโต๊ะจีนลิง เป็นหนึ่งใน 10 เทศกาลแปลกที่สุดในโลก งานเลี้ยงโต๊ะจีนลิง จัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ณ บริเวณศาลพระกาฬ และพระปรางค์สามยอด ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมไปถึงสื่อต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
- เทศกาลกินเจลพบุรี
- งานฤดูหนาวลพบุรี จัดระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ของทุกปี ณ.สนามโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
- งานกาชาดลพบุรี
- เทศกาลงานแสดงไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดลพบุรี ในเดือนตุลาคมของทุกปี
- ประเพณีชักพระศรีอาริย์ 14 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
- ประเพณีกำฟ้า ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3
การขนส่ง[แก้]
ทางถนน[แก้]
ทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดลพบุรีมีดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 (ถนนคชเสนีย์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (ถนนสุรนารายณ์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (ถนนนารายณ์มหาราช, ถนนลพบุรี–ชัยนาท)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 (สายมวกเหล็ก–ลำนารายณ์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129 (ทางเข้าลำนารายณ์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (สายถนนโค้ง–กุดม่วง)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2321 (สายบ้านใหม่สามัคคี–สระโบสถ์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3015 (สายสถานีรถไฟท่าแค-รพ.อานันทมหิดล)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3016 (สายค่ายเอราวัณ-สถานีรถไฟป่าหวาย)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017 (สายสามแยกนิคม–วังม่วง)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3019 (สายสถานีรถไฟโคกกะเทียม-สามแยกโคกกะเทียม)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3024 (สายถนนพหลโยธิน-ถนนเทศบาล อำเภอบ้านหมี่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3027 (สายท่าวุ้ง–บ้านเบิก อำเภอไชโย)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 (สายดงพลับ อำเภอตาคลี – เจ้าปลุก อำเภอมหาราช)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3562 (สายลพบุรี–ป่าหวาย) บ้านป่าหวาย–วงเวียนพลร่ม–วงเวียนสระแก้ว–สี่แยกสะพาน 7
|
|
ทางราง[แก้]
ทางรถไฟที่ผ่านจังหวัดลพบุรี คือ ทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพมหานคร–เชียงใหม่) ในระบบรางคู่มาถึงตัวจังหวัด และในอนาคตอันใกล้กำลังจะมีการดำเนินการสร้างทางรถไฟรางคู่ต่อจากลพบุรีขึ้นไปทางเหนือ (ลพบุรี–ปากน้ำโพ) สถานีรถไฟและที่หยุดรถไฟในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ สถานีรถไฟลพบุรี สถานีรถไฟบ้านป่าหวาย สถานีรถไฟท่าแค สถานีรถไฟหนองเต่า สถานีรถไฟหนองทรายขาว สถานีรถไฟบ้านหมี่ ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่หยุดรถไฟไผ่ใหญ่ สถานีรถไฟหินซ้อน สถานีรถไฟห้วยแก้ว สถานีรถไฟโคกกระเทียม และสถานีรถไฟลำนารายณ์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการสถานีรถไฟแห่งใหม่ ได้แก่ สถานีรถไฟท่าวุ้ง สถานีรถไฟชุมชนจุดตัดแม่น้ำลพบุรี และสถานีรถไฟความเร็วสูงลพบุรี ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาการจัดตั้งตามโครงการเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่
ทางอากาศ[แก้]
จังหวัดลพบุรีไม่มีท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ให้บริการ แต่มีท่าอากาศยานที่อยู่ในสังกัดของกองทัพบก และกองทัพอากาศ
- สนามบินโคกกระเทียม หรือ ฐานทัพอากาศโคกกะเทียม กองบิน 2 กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ สังกัด กองทัพอากาศ
- สนามบินทหารอากาศ ตั้งอยู่ที่ อำเภอท่าหลวง
- สนามบินทหารอากาศ ตั้งอยู่ที่ อำเภอท่าวุ้ง
- สนามบินสระพรานนาค โรงเรียนการบิน ศูนย์การบินทหารบก ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา สังกัด กองทัพบก
- สนามบิน ค่ายวชิราลงกรณ์ สังกัด กองทัพบก
- สนามบินบ้านหมี่ ตำบลดอนดึง อำเภอบ้านหมี่ ภายใต้การกำกับ ดูแลของมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สนามบินฝึกใช้อาวุธทางอากาศ สังกัด กองทัพอากาศ
- สนามบินโคกสลุง
สาธารณสุข[แก้]
ในปี 2552 จังหวัดลพบุรี มีจำนวนโรงพยาบาล ของรัฐไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน ทั้งสิ้น 11 แห่ง มีจำนวนเตียง 1,156 เตียงส่วนบุคลากรทางสาธารณสุขที่สำคัญ คือ แพทย์ มีจำนวน 97 คน ทันตแพทย์ มีจำนวน 34 คน เภสัชกร มีจำนวน 45 คนและพยาบาล มีจำนวน 1,022 คน
การทหาร[แก้]
ปัจจุบัน จังหวัดลพบุรีเป็นที่ตั้งของกองกำลังทั้งทหารบกและทหารอากาศหลายหน่วย เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหาร กองกำลังทางการรบ ซึ่งจังหวัดลพบุรีนั้นมีภูมิประเทศที่เหมาะสม คืออยู่บริเวณจุดกึ่งกลางของประเทศ จึงทำให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหารซึ่งสามารถที่กระจายหรือแจกจ่ายกำลังพล อาวุธยุทธโทปกรณ์ ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และนอกจากนั้นได้มีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารขึ้นมาในเมืองลพบุรี ซึ่งมีหน่วยทหารที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่, ศูนย์การบินทหารบก, หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ, ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร, หน่วยรบพิเศษ เป็นต้น ดังนั้นเมืองลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหารเพราะมีหน่วยทหารที่สำคัญตั้งอยู่ถึง 11 หน่วย ลพบุรีในปัจจุบันจึงเป็นเมืองเศรษฐกิจ เมืองท่องเที่ยว ศูนย์การศึกษาของภาคกลางตอนบน และยังเป็นเมืองทหารอีกด้วย
จังหวัดลพบุรี เป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นจึงถูกเลือกให้เป็นที่มั่นแห่งที่ 2 ของประเทศมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การพัฒนาด้านการทหารของจังหวัดลพบุรี ปรากฏว่าเด่นชัดในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชื่อจริงคือ แปลก พิบูลสงคราม ตอนที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทำให้กิจการด้านการทหารของลพบุรีมีความสำคัญมากเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ราว พ.ศ. 2480 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พัฒนาเมืองลพบุรี ให้เป็นศูนย์กลางทางการทหาร และมีการวางผังเมืองใหม่ โดยแยกชุมชนและสถานที่ราชการออกจากเมืองเก่า ทำให้ดูสง่างามกว่าเดิมและได้สร้างสิ่งก่อสร้างศิลปะแบบอาร์ตเดโด ขึ้นหลายแห่ง เช่น ตึกชาโต้ ตึกเอราวัณ โรงภาพยนตร์ ทหารบก เป็นต้น ลพบุรีจึงเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง ที่อุดมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทยและมีความเป็นอมตะนคร ไม่หายไปจากความทรงจำของทุกยุคทุกสมัย และมีการวางผังเมืองใหม่ โดยย้ายศาลากลางจังหวัดจากบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์มายังสถานที่ตั้งในปัจจุบัน น่าภูมิใจในจังหวัดลพบุรี นอกจากได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหาร ซึ่งมีทหารบกหลายเหล่าได้แก่ เหล่าทหารราบ เหล่าปืนใหญ่ หน่วยรบพิเศษ และทหารอากาศ ได้แก่ กองบิน 2 และสนามฝึกซ้อมใช้อาวุธม่วงค่อมแล้ว นอกจากนี้ลพบุรียังมีสนามบินของกองทัพบกและกองทัพอากาศอยู่หลายที่ ลพบุรียังชื่อได้ว่าเป็นศูนย์กลางการบินเฮลิคอปเตอร์ของไทยอีกด้วย เพราะศูนย์กลางการบินเฮลิคอปเตอร์ทั้งทหารบกและทหารอากาศ ต่างตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี